วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

ระบบเครือข่าย

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (computer network) คือ ระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง
การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้

[แก้] ชนิดของเครือข่าย
เครือข่าย เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกัน เพื่อสะดวกต่อการร่วมใช้ข้อมูล, โปรแกรม หรือเครื่องพิมพ์ และยังสามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องได้ตลอดเวลา ระบบเครือข่ายจะถูกแบ่งออกตามขนาดของเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายที่รู้จักกันดีมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่
เครือข่ายภายใน หรือ แลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน
เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร
เครือข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ แมน (Metropolitan area network : MAN)
และยังมีอีกสองเครือข่ายที่ยังมีเพิ่มเติมอีกคือ
เครือข่ายของการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ แคน (Controller area network) : CAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller unit: MCU)
เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network) : PAN) เป็นเครือข่ายไร้สาย


อุปกรณ์ในระบบระบบเครือข่าย
ฮับ หรือ รีพีทเตอร์ (Hub, Repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ทวน และขยายสัญญาณ เพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่น ให้ได้ระยะทางที่ยาวไกลขึ้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลก่อนและหลัง การรับ-ส่ง และไม่มีการใช้ซอฟท์แวร์ใดๆ มาเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ชนิดนี้ การติดตั้งจึงทำได้ง่าย ข้อเสียคือ ความเร็วในการส่งข้อมูล จะเฉลี่ยลดลงเท่ากันทุกเครื่อง เมื่อมีคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อมากขึ้น
สวิทช์ หรือ บริดจ์ (Switch, Bridge) เป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อ เครือข่ายท้องถิ่น หรือ แลน (LAN) ประเภทเดียวกัน ใช้โปรโตคอลเดียวกัน สองวงเข้าด้วยกัน เช่น ใช้เชื่อมต่อ อีเธอร์เน็ตแลน (Ethernet LAN) หรือ โทเคนริงก์แลน (Token Ring LAN) ทั้งนี้ สวิทช์ หรือ บริดจ์ จะมีความสามารถในการเชื่อมต่อ ฮาร์ดแวร์ และตรวจสอบข้อผิดพลาด ของการส่งข้อมูลได้ด้วย ความเร็วในการส่งข้อมูล ก็มิได้ลดลง และติดตั้งง่าย
เร้าเตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานคล้ายสวิทช์ แต่จะสามารถเชื่อมต่อระบบที่ใช้สื่อหรือสายสัญญาณต่างชนิดกันได้ เช่น เชื่อมต่ออีเธอร์เน็ตแลน (Ethernet LAN)ที่ส่งข้อมูลแบบยูทีพี (UTP:Unshield Twisted Pair) เข้ากับอีเธอร์เน็ตอีกเครือข่าย แต่ใช้สายแบบโคแอ็กเชียล(Coaxial cable) ได้ นอกจากนี้ยังช่วยเลือกหรือกำหนดเส้นทางที่จะส่งข้อมูลผ่าน และแปลงข้อมูลให้เหมาะสมกับการนำส่ง แน่นอนว่าการติดตั้งย่อมยุ่งยากมากขึ้น
เกทเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงสุด ในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยไม่มีขีดจำกัด ทั้งระหว่างเครือข่ายต่างระบบ หรือแม้กระทั่งโปรโตคอล จะแตกต่างกันออกไป เกทเวย์ จะแปลงโปรโตคอล ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ต่างชนิดกัน จัดเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพง และติดตั้งใช้งานยุ่งยาก เกตเวย์บางตัว จะรวมคุณสมบัติในการเป็น เร้าเตอร์ ด้วยในตัว หรือแม้กระทั่ง อาจรวมเอาฟังก์ชั่นการทำงาน ด้านการรักษาความปลอดภัย ที่เรียกว่า ไฟร์วอลล์ (Firewall) เข้าไว้ด้วยกัน
ตัวอย่างเทคโนโลยีกับระบบเครือข่าย
โฮมเน็ตเวิร์ก โทรศัพท์ผ่านอินเตอร์เน็ต การเรียนการสอนทางไกล: Tele-Education ฯลฯ
โฮมเน็ตเวิร์ก โฮมเน็ตเวิร์ก เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชิ้น ภายในบ้านไม่ว่าจะเป็น ทีวี วิทยุ เครื่องซักผ้า ตู้เย็น เตาไมโครเวฟ หรือ เครื่องทำน้ำอุ่น ให้เป็นระบบเครือข่ายหลายคนอาจสงสัยว่า แล้วทำไมถึงมีอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้น มาเกี่ยวด้วย เพราะดูแล้วมันไม่น่าจะนำมาต่อ เป็นเครือข่ายเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้เลยแนวคิดโฮมเน็ตเวิร์ก คือ การทำให้อุปกรณ์ทุกชิ้นภายในบ้าน สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ และสามารถรับคำสั่งจากระยะไกลได้ โดยมีคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลาง พูดง่ายๆก็คือ ความพยายามที่จะทำให้เครื่องใช้ทุกอย่างในบ้านมีความฉลาด ซึ่งจะช่วยและอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้มากที่สุด ขอยกตัวอย่างเพื่อช่วยในการนึกภาพ ของโฮมเน็ตเวิร์กได้ชัดขึ้น เช่น ก้าวแรกที่คุณลุกขึ้นจากเตียงนอน ทันทีเจ้าวิทยุคู่ใจ ก็เริ่มบรรเลงเพลงโปรด ระหว่างที่คุณกำลังมีความสุข อยู่กับการแช่น้ำอุ่นๆ จากเครื่องทำน้ำอุ่น ในอ่างอาบน้ำ ที่เตรียมไว้พร้อมสรรพ ตู้เย็นก็จัดการส่งขนมปัง ไข่ และไส้กรอกไปยังเตาไมโครเวฟ เพื่อปรุงไว้พร้อมเสริฟในครัว แค่นี้ก็ทำให้การเริ่มวันใหม่ของคุณ เป็นไปอย่างราบรื่นและไม่ต้องรีบเร่ง ฟังดูอาจเกินจริงไปบ้าง แต่ขอบอกว่าสิ่งเหล่านี้ เป็นแนวคิดของโฮมเน็ตเวิร์กนั่นเอง
หากต้องทำให้อุปกรณ์ทุกอย่างที่อยู่ในบ้านเชื่อมต่อเป็นระบบเดียวกัน จำเป็นต้องมีมาตรฐานมารองรับเพื่อให้ผู้ผลิตต่างๆ ผลิตสินค้าของตนให้สามารถเชื่อมต่อกับสินค้ายี่ห้ออื่นๆ ในตลาดได้ ซึ่งมาตรฐานที่ใช้สำหรับโฮมเน็ตเวิร์กที่มีอยู่ในปัจจุบันมีดังนี้มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย IEEE 802.11มาตรฐาน Bluetoothมาตรฐาน SWAP 1.0มาตรฐาน X10มาตรฐาน IEEE1394 หรือ FireWireมาตรฐาน HomePNA (Home Phoneline Networking Associationมาตรฐาน SSEQจากมาตรฐานของโฮมเน็ตเวิร์กข้างต้น สามารถแบ่งประเภทของโฮมเน็ตเวิร์ก ได้สองประเภทใหญ่ๆ คือ แบบมีสาย(Wired Homenetwork) และแบบไร้สาย (Wireless Homenetwork)
โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต ผลจากการพัฒนาเทคโนโลยีบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ไม่หยุดนิ่ง ทำให้ทุกวันนี้มีบริการไฮเทคเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ให้ผู้คนได้เลือกใช้ตามความต้องการ และหนึ่งในนั้นก็คือ บริการโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต ที่มีการเรียกชื่อที่ต่างกันออกไปไม่ว่าจะเป็น Internet Telephone, Net Phone, Voice over Internet Protocal, Voice over IP, VoIP หรือ Web Phone ซึ่งล้วนแต่หมายถึง บริการที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ในการสื่อสารพูดคุย แทนเครื่องโทรศัพท์ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบริการโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ตสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้PC-to-PC วิธีนี้ผู้ใช้ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งต้นทาง-ปลายทาง และต้องลงโปรแกรมเดียวกัน หรือโปรแกรมที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งเป็นวิธีสื่อสาร ที่ไม่ต้องเสียค่าบริการโทรศัพท์แต่อย่างใดPC-to-Phone เป็นรูปแบบที่ใช้ได้ กับผู้ใช้ต้นทางที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมโทรศัพท์ โดยผู้รับปลายทางใช้เครื่องโทรศัพท์ธรรมดา วิธีนี้จำเป็นต้องมีผู้ที่ให้บริการ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เข้ากับเครือข่ายโทรศัพท์ท้องถิ่น (Internet Telephone Service Provider หรือ ITSP) โดยผู้ใช้ต้องเสียค่าบริการ ตามเวลาที่ใช้จริงPhone-to-PC วิธีนี้ใช้หลักการเดียวกับแบบPC-to-Phone แต่เปลี่ยนเป็นต้นทางเป็นโทรศัพท์ธรรมดา ในขณะที่ปลายทางเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมโทรศัพท์แทน ซึ่งผู้ใช้ต้องเสียค่าบริการ ตามเวลาที่ใช้จริงเช่นกันPhone-to-Phone เป็นวิธีที่ทั้งต้นทาง และปลายทางต้องมี ITSP ซึ่งทำให้มีค่าบริการสูงกว่าวิธีอื่นๆ แต่ก็เป็นวิธีที่ง่าย และคุ้นเคยกับการใช้งานที่สุด อุปกรณ์เสริมที่จำเป็น สำหรับบริการโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต ที่ผู้ใช้ต้องซื้อหาเพิ่มเติม จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรามีอยู่แล้ว ก็คือ ซาว์ดการ์ด ลำโพง ไมโครโฟน หูฟัง หรือหูฟังพร้อมไมโครโฟน เอียร์คลิป แฮนด์เซท กล้องวิดีโอ และอุปกรณ์สลับสายระหว่างลำโพงกับเฮดเซทสิ่งที่น่าจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้คน หันมาใช้บริการโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต เห็นจะได้แก่ อัตราค่าบริการที่ถูกกว่า เมื่อเทียบกับการโทรทางไกล ผ่านโทรศัพท์ธรรมดา โดยผู้ใช้จะเสียเฉพาะค่าโทรศัพท์ ในอัตราแบบ โทรภายในพื้นที่เท่านั้น เพราะการโทรทางไกล จะเรียกผ่าน ทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแทน ซึ่งช่วยผู้ใช้ประหยัดเงิน ในกระเป๋าได้มากทีเดียว
การเรียนการสอนทางไกล ระบบการศึกษานอกโรงเรียน เป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญ และจำเป็นอย่างมากในประเทศกำลังพัฒนา การกระจายเครือข่าย เพื่อสนับสนุนการศึกษา ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน และสื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพ กำลังได้รับการยอมรับมากที่สุด จากสถาบันการศึกษาคือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ต ที่ในรูปของ Tele-Education หรือการเรียนการสอนทางไกลความรวดเร็วของในการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต ช่วยลดข้อจำกัดในการศึกษานอกสถานที่ เพราะไม่ว่าผู้เรียนจะอยู่ที่ใด ก็สามารถเรียนได้อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันอินเทอร์เน็ต สามารถทำให้เกิดการโต้ตอบ ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน เสมือนอยู่ในพื้นที่เดียวกัน รูปแบบของการเรียนการสอนทางไกล ที่ได้รับความนิยม ทำได้ทั้งการสร้างเครือข่ายการเรียนการสอน โดยมีศูนย์อยู่ในส่วนกลาง เพื่อผลิตเนื้อหาส่งผ่านอุปกรณ์ส่งสัญญาณ กระจายผ่านเครือข่ายเคเบิ้ลนำแสง หรือใช้ดาวเทียมยิงสัญญาณไปยังเครื่องรับทางไกลก็ได้ นอกจากนี้สามารถนำเอาห้องเรียนไปไว้บนอินเทอร์เน็ต โดยมีอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล เป็นโครงสร้างพื้นฐานในการเรียน ใช้ซอฟต์แวร์ช่วยการสอนทางไกล ที่ทำให้เว็บเพจกลายเป็นแหล่งความรู้ การเรียนทางไกล ผู้เรียนสามารถเลือกศึกษาวิชาที่มีความสนใจ และต้องการหาความรู้เพิ่มเติม สามารถทบทวนบทเรียน หรือเรียนซ้ำ โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา

Ip Address

หมายเลขไอพี หรือ ไอพีแอดเดรส (Internet Protocol Address) คือหมายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอล Internet Protocol คล้ายกับหมายเลขโทรศัพท์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเราท์เตอร์ เครื่องแฟกซ์ จะมีหมายเลขเฉพาะตัวโดยใช้เลขฐานสอง จำนวน 32 บิต โดยการเขียนจะเขียนเป็นชุด 4 ชุด โดยแต่ละชุดจะใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผู้คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับระบบเลขฐานสิบ จึงมักแสดงผลโดยการใช้เลขฐานสิบ จำนวน 4 ชุด ซึ่งแสดงถึงหมายเลขเฉพาะของเครื่องนั้น สำหรับการส่งข้อมูลภายในเครือข่ายแลน แวนหรือ อินเทอร์เน็ต โดยหมายเลขไอพีมีไว้เพื่อให้ผู้ส่งรู้ว่าเครื่องของผู้รับคือใคร และผู้รับสามารถรู้ได้ว่าผู้ส่งคือใคร
ตัวอย่างของหมายเลขไอพี ได้แก่ 207.142.131.236 ซึ่งเมื่อแปลงกลับมาในรูปแบบที่อ่านได้จะเรียกว่า โดเมนแอดเดรส ผ่านทาง โดเมนเนมซีสเทม (Domain Name System) ซึ่งหมายเลขนั้นหมายถึง www.wikipedia.org

ไอพีเวอร์ชัน 4
ระบบตัวเลขไอพีที่ใช้ในปัจจุบันเป็นระบบ ไอพีเวอร์ชันที่ 4 (IPv4) ซึ่งจะเป็นระบบ 32 บิตหรือสามารถระบุเลขไอพีได้ตั้ง 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255 (ตัวเลขบางตัวเป็นไอพีสงวนไว้สำหรับหน้าที่เฉพาะเช่น 127.0.0.0 จะเป็นการระบุถึงตัวอุปกรณ์เองไม่ว่าอุปกรณ์นั้นจะมีไอพีสื่อสารจริงๆ เป็นเท่าไร) อย่างไรก็ตามจากระบบตัวเลขที่จำกัดนี้สามารถเพิ่มขยายด้วยเทคนิคของไอพีส่วนตัว (private IP) กับการแปลงไอพี (Network Address Translation หรือ NAT) 684

คลาส
ไอพีเวอร์ชัน 4 ทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็น Class ชนิดต่างๆเพื่อจุดประสงค์ในการใช้งานต่างๆกันดังต่อไปนี้
คลาส A เริ่มตั้งแต่ 1.0.0.1 ถึง 126.255.255.254
คลาส B เริ่มตั้งแต่ 128.0.0.1 ถึง 191.255.255.254
คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.0.1.1 ถึง 223.255.254.254
คลาส D เริ่มตั้งแต่ 224.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 ใช้สำหรับงาน multicast
คลาส E เริ่มตั้งแต่ 240.0.0.0 ถึง 254.255.255.254 ถูกสำรองไว้ ยังไม่มีการใช้งาน
สำหรับไอพีในช่วง 127.0.0.0 ถึง 127.255.255.255 ใช้สำหรับการทดสอบระบบ

ไอพีส่วนตัว (Private IP)
ไอพีส่วนตัวมีไว้สำหรับใช้งานภายในองค์กรเท่านั้น ไม่ว่าองค์กรนั้นจะมีขนาดใหญ่หรือเล็กเพียงใดก็ตาม ได้แก่
ไอพีส่วนตัว คลาส A เริ่มตั้งแต่ 10.0.0.0 ถึง 10.255.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.0.0.0 ขึ้นไป
ไอพีส่วนตัว คลาส B เริ่มตั้งแต่ 172.16.0.0 ถึง 172.31.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.240.0.0 ขึ้นไป
ไอพีส่วนตัว คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.168.0.0 ถึง 192.168.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.255.0.0 ขึ้นไป
ไอพีส่วนตัวข้างต้นถูกกำหนดให้ไม่สามารถนำไปใช้งานในเครือข่ายสาธารณะ (Internet) ได้

ไอพีสาธารณะ (Public IP)
ไอพีสาธารณะมีไว้สำหรับให้แต่ละองค์กร แต่ละบุคคล ต่างก็สามารถเชื่อมต่อเข้าหากัน รับส่งข้อมูลระหว่างกันผ่านเครือข่ายสาธารณะได้

การแปลงไอพี (NAT)
เนื่องจากเมื่อแต่ละองค์กร แต่ละบุคคล ต่างก็ใช้งานไอพีส่วนตัวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถติดต่อกับเครือข่ายสาธารณะ (Internet) ได้ จึงทำให้องค์กรเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยการแปลงไอพี เพื่อช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายสาธารณะได้ นอกจากนี้ไอพีสาธารณะเองก็มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้เมื่อแต่ละองค์กร แต่ละบุคคลต้องการที่จะเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายสาธารณะจะทำให้เกิดปัญหาไอพีสาธารณะไม่พอเพียงต่อการใช้งาน ดังนั้นเพื่อให้เกิดการใช้งานไอพีสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องมีการแปลงไอพีส่วนตัวของแต่ละองค์กรให้สามารถแบ่งปันกันใช้งานไอพีสาธารณะที่มีอยู่อย่างจำกัด (Overloaded NAT) ในแง่ของความปลอดภัย การแปลงไอพีสามารถช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบเครือข่ายได้ เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์จากเครือข่ายสาธารณะทั้งหลาย จะไม่สามารถรู้จักไอพีที่แท้จริงของคอมพิวเตอร์ในองค์กร ทำให้ความเสี่ยงที่คอมพิวเตอร์ภายในองค์กรจะถูกโจมตีในแง่ต่างๆลดลงไปด้วย

ไอพีเวอร์ชัน 6
ไอพีเวอร์ชันที่ 6 (IPv6) ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วยจุดประสงค์หลักในการแก้ปัญหาการขาดแคลนจำนวนหมายเลขไอพีซึ่งกำหนดโดยมาตรฐานไอพีเวอร์ชันที่ 4 ซึ่งในมาตรฐานของเวอร์ชัน 6 นี้จะใช้ระบบ 128 บิตในการระบุหมายเลยไอพี

วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2552

Windows Server2003

วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 (Windows Server 2003) เป็นระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์จากไมโครซอฟท์ เป็นรุ่นที่ถัดจากวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2000 วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 ได้ออกวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งนับเป็นหนึ่งผลิตภัณฑ์ของ Windows Server System

[แก้] ภาพรวม
วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์เป็นระบบปฏิบัติการแรกที่ออกมาหลังจากไมโครซอฟท์ประกาศแนวทาง Trustworthy Computing จึงเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องความปลอดภัย โดยเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก เช่นหลังจากการตั้งแต่ติดตั้งเสร็จนั้น ไม่มีส่วนประกอบเซิร์ฟเวอร์ที่เปิดการใช้งานเพื่อลดช่องทางโจมตีตั้งแต่แรกเริ่ม และได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากใน IIS 6.0 โดยเกือบเขียนขึ้นมาใหม่หมด เพื่อเพิ่มความปลอดภัยประสิทธิภาพการทำงาน
ในปีพ.ศ. 2548 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศ วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ "ลองฮอร์น" ซึ่งจะเป็นรุ่นต่อจากวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 โดยมีกำหนดการที่จะออกครึ่งปีแรกใน พ.ศ. 2550
วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ได้แบ่งเป็นรุ่นดังนี้:
Windows Small Business Server 2003
Windows Server 2003 Web Edition
Windows Server 2003 Standard Edition
Windows Server 2003 Enterprise Edition
Windows Server 2003 Datacenter Edition
Windows Compute Cluster Server 2003

Ubuntu

อูบุนตู (Ubuntu)
(สัท.: ùbúntú หรือ uːˈbunːtuː [3]) เป็นลินุกซ์ดิสทริบิวชันที่พัฒนาต่อมาจากเดเบียน การพัฒนาสนับสนุนโดยบริษัท Canonical Ltd ซึ่งเป็นบริษัทของนายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ชื่อของดิสทริบิวชันนั้นมาจากคำในภาษาซูลู และภาษาโคซา (ภาษาในแอฟริกาใต้) ว่า Ubuntu ซึ่งมีความหมายในภาษาอังกฤษคือ "humanity towards others"
อูบุนตูต่างจากเดเบียนตรงที่ออกรุ่นใหม่ทุก 6 เดือน และแต่ละรุ่นจะมีระยะเวลาในการสนับสนุนเป็นเวลา 18 เดือน รุ่นปัจจุบันของ Ubuntu คือ 8.10 รหัส Intrepid Ibex นั้น มูลนิธิ อูบุนตูได้ประกาศว่าจะขยายระยะเวลาสนับสนุนเป็น 3 ปี ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่รวมมาใน อูบุนตูนั้นเป็นซอฟต์แวร์เสรีทั้งหมด โดยจุดมุ่งหมายหลักของ อูบุนตูคือเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคนทั่วไป ที่มีโปรแกรมทันสมัย และมีเสถียรภาพในระดับที่ยอมรับได้

ความสามารถสำคัญ
นักพัฒนา Ubuntu จำนวนมากมาจากชุมชนเดเบียนและ GNOME โดยการออก Ubuntu รุ่นใหม่จะตรงกับรุ่นใหม่ของ GNOME อยู่เสมอ มีนักพัฒนาอีกหลายกลุ่มพยายามที่จะใช้ KDE กับ Ubuntu และทำให้เกิดโครงการ Kubuntu ขึ้น นอกจากนี้ยังมีโครงการ Xubuntu สำหรับ XFCE และตัว Shuttleworth เองยังประกาศโครงการ Gnubuntu ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์เสรีทั้งหมด ตามอุดมคติของริชาร์ด สตอลแมน และโครงการ Edubuntu ซึ่งเป็นลีนุกซ์ที่ใช้ภายในโรงเรียนอีกด้วย
Ubuntu นั้นเน้นในเรื่องความง่ายในการใช้งานเป็นหลัก ใช้เครื่องมือ sudo สำหรับงานบริหารระบบ เช่นเดียวกับ Mac OS X
รองรับการทำงานกับทั้ง CPU ชนิด 32bit และชนิด 64bit
รูปแบบการติดตั้งแบบ Live CD ที่รันระบบปฏิบัติการจากแผ่นซีดี ให้ทดลองใช้ก่อนการติดตั้งจริง
ทุกโครงการของ Ubuntu นั้นไม่เสียค่าใช้จ่ายในการใช้งาน ผู้ใช้ทุกคนจากทุกประเทศสามารถขอรับซีดี Ubuntu ได้ฟรี (ทาง Ubuntu จะเป็นฝ่ายเสียค่าจัดส่งให้ทางไปรษณีย์) ใต้ชื่อโครงการ Ubuntu Shipit โครงการนี้ยังแบ่งย่อยเป็น Kubuntu Shipit, Xubuntu Shipit และ Edubuntu Shipit ด้วย
ส่วนติดต่อผู้ใช้หลังจากติดตั้งเสร็จจะเป็นสีน้ำตาลและส้ม ใช้ชื่อชุดตกแต่งนี้ว่า Human ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้
ใช้ระบบ APT และ Synaptic ในการจัดการโปรแกรมของระบบ
Linux TLE ซึ่งเป็น Linux พัฒนาโดยคนไทยตั้งแต่ version 8.0 ก็ใช้ Ubuntu เป็นฐานในการพัฒนา

[แก้] ประวัติและลำดับการพัฒนา

ภาพซีดี อูบุนตู 8.04 ที่แจกฟรี สำหรับผู้ต้องการ
Ubuntu เปิดตัวเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2004 โดยเริ่มจากการแยกตัวชั่วคราวออกมาทำจากโครงการ Debian GNU/Linux เมื่อเสร็จสิ้นคราวนั้นแล้วก็ได้มีการออกตัวใหม่ๆทุก 6 เดือน และมีการอับเดตระบบอยู่เรื่อยๆ Ubuntu เวอร์ชันใหม่ๆที่ออกมาก็ได้ใส่ GNOME เวอร์ชันล่าสุดเข้าไปด้วย โดยแผนการเปิดตัวทุกครั้งจะออกหลังจาก GNOME ออกหนึ่งเดือน ซึ่งตรงข้ามกับทางฝั่งที่แยกออกมาจาก Debian อื่นๆ เช่นพวก MEPIS, Xandros, Linspire, Progeny และ Libranet ทั้งหมดล้วนมีกรรมสิทธิ์ และไม่เปิดเผยCode ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ในรูปแบบธุรกิจ Ubuntu เป็นตัวปิดฉากหลักการของ Debian และมีการใช้งานฟรีมากที่สุดในเวลานี้
โลโก้ของ Ubuntu ยังคงใช้รูปแบบเดิมตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรก ซึ่งสร้างโดย แอนดี้ ฟิสสิมอน ฟอนต์ได้รับการแจกมาจาก Lesser General Public License แล้วก็ได้มาเป็นโลโก้Ubuntu
ส่วนประกอบต่างๆของUbuntu ส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากความไม่แน่นอนของ Debian โดยทั้งสองใช้ Debian's deb package format และ APT/Synaptic เป็นตัวจัดการการติดตั้งส่วนประกอบต่างๆ
Ubuntu ร่วมมือกับ Debian ในการผลักดันให้เปลี่ยนกลับไปเป็น Debian ถึงแม้ว่าว่าได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ ส่วนประกอบของทั้งสองไม่สามารถเข้ากันได้ ผู้พัฒนาUbuntuหลายๆคนว่ามีตัวจัดการรหัสของส่วนประกอบของDebianอยู่ภายในตัวมันเอง อย่างไรก็ตาม แลน เมอดั๊ก ผู้คิดค้น Debian ได้วิจารณ์ในเรื่องความเข้ากันไม่ได้ในหลายๆอย่าง ระหว่างส่วนประกอบของ Ubuntu กับ Debian กล่าวไว้ว่า Ubuntu แตกต่างเป็นอย่างมากจาก Debian ในเรื่องความเข้ากันได้
นั้นคือแผนการที่จะแตกแยกโดยมีชื่อเรือกว่า Grumpy Groundhog มันควรจะมั่นคงแน่นอนในการพัฒนาและทดสอบ ผลักดันให้ซอร์สโค๊ด ออกไปโดยตรงจาก การควบคุมการแก้ไข ของโปรแกรมต่างต่างๆ และโปรแกรมประยุกต์นั้นก็ได้โอนย้ายไปเป็นส่วนของ Ubuntu นั่นควรจะอนุญาตให้ เหล่าpower users และ upstream developers ในการทดสอบโปรแกรมส่วนบุคคล พวกเขาน่าจะได้ทำหน้าที่ ถ้าโปรแกรมได้ถูกกำหนดเป็นส่วนประกอบที่ได้ทำการแจกจ่ายแล้ว นอกจากนี้แล้วยังต้องการที่จะสร้างส่วนประกอบขึ้นมาด้วยตัวของพวกเขาเอง มันควรจะสามารถจัดเตรียมล่วงหน้า ก่อนคำเตือนของการสร้างที่ผิดพลาด บนโครงสร้างที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นการเตรียมการเอาไว้ของ กัมไปร์ กราวฮ๊อก ร่วมมือกับ Debian Unstable ทุกๆ 6 เดือน และกัมไปร์ กราวฮ๊อก ได้ทำให้เป็นซอฟแวร์แบบสาธารณะแล้ว
ปัจจุบัน Ubuntu ได้รับเงินทุนจาก บริษัท Canonical ในวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 นายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ และ บริษัทCanonical ประกาศสร้าง Ubuntu Foundation และเริ่มให้ทุนสนับสนุน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ จุดมุ่งหมายของการริเริ่มที่แน่นอนว่าจะสนับสนุนและพัฒนา เวอร์ชันต่อๆไปข้างหน้าของ Ubuntu แต่ในปี ค.ศ. 2006 จุดมุ่งหมายก็ได้หยุดลง นาย มาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ กล่าวว่าจุดมุ่งหมายที่จะได้เงินทุนฉุกเฉินจากความสัมพันธ์กับบริษัทCanonical คงจบลง
ในช่วงเดือน กรกฎาคม ค.ศ. 2007 ได้มี Ubuntu Live 2007ขึ้น นายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ประกาศว่า Ubuntu 8.04 (กำหนดการออกเดือนเมษายน ค.ศ. 2008) จะมีการสนับสนุน Long Term Support (LTS) เขาได้ดึงบริษัท Canonical มาเป็นคณะกรรมการในการออกเวอร์ชันการสนับสนุนLTSใหม่ๆทุกๆ 2 ปี

[แก้] ผู้สนับสนุน
เดลล์
ในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 บริษัทDell ได้ประกาศว่าจะขายเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและโน็ตบุ๊คที่ได้ติดตั้ง Ubuntu ไปด้วย และในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 คอมพิวเตอร์เหล่านั้นได้นำออกขายในสหรัฐ. พวกเขาได้เริ่มให้บริการลูกค้าในการใช้งาน Ubuntu ผ่านทางบริษัทDell, ด้วยการสนับสนุนจากบริษัท Canonical ในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 2007 คอมพิวเตอร์เหล่านั้นได้นำออกขายในอังกฤษ, ฝรั่งเศสและเยอรมันซึ่งเป็นไปด้วยดี ถ้าเลือกใช้เครื่อง DELL ในขณะนี้ก็จะมี ระบบปฏิบัติการ Ubuntu 7.10 กับ โปรแกรมLinDVD ไว้ดูหนังดีวีดี
Tesco
ในเดือนตุลาคม บริษัทTesco ได้ตามมาแนวเดียวกับบริษัทDell โดยเริ่มขายเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการUbuntu 6.06 LTS แต่ก็มีส่วนที่ไม่เหมือนกับ Dell ที่ไม่ได้ให้บริษัทCanonical เป็นคนสนับสนุนช่วยเหลือ
System76
ตั้งแต่เริ่มแรกมาในเดือนพฤษจิกายน ค.ศ. 2005 โดย System76 เป็นบริษัทที่มีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ได้ให้การสนันสนุนระบบปฏิบัติการ Ubuntu ในเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ,โน้ตบุ๊ก และ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย

[แก้] การนำเอาซอฟแวร์ที่มีลิขสิทธิ์มาใช้
Ubuntu มีการรับรองระบบเพื่ออยู่ในสมาคม third party software Ubuntuได้รับรองการเป็นเจ้าของซอฟแวร์ที่ทำงานได้ใน Ubuntu อย่างไรก็ตามหลายโปรแกรมที่ผู้ใช้คุ้นเคยของระบบปฏิบัติการที่ไม่ฟรี เช่น Microsoft Windows นั้นเข้ากันไม่ได้และไม่ได้ถูกรับรองจาก Ubuntu แต่ซอฟแวร์ที่มีลิขสิทธิ์บางตัวนั้นไม่ได้กำหนดในเรื่องการแจกจ่ายก็ได้มีการรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ Ubuntu เช่นกัน ซอฟแวร์บางตัวที่ไม่ได้รวมอยู่ด้วยใน Ubuntu :
ซอฟแวร์ที่เปิดการทำงาน region-locked และวิดีโอ DVDs, ทั้งสองน่าจะได้รับอนุญาตให้ใช้งาน จึงใช้ libraryถอดรหัส DVD ของ Libdvdcss ซึ่งเป็น open-source ซึ่งเป็นประโยชน์มากสำหรับ Ubuntu และ Medibuntu.
ปลั๊กอินของเว็บเบราว์เซอร์บางตัวก็มีเจ้าของลิขสิทธิ์ อย่างเช่น Adobe's (formerly Macromedia's) Shockwave (ที่ไม่ใช่เวอร์ชันของLinux) และ Flash

[แก้] ระบบที่ต้องการ
ในที่สุดเวอร์ชันที่ผ่านของ Ubuntu นั้นสนับสนุนสถาปัตยกรรม Intel x86 และ AMD64 ของเครื่องเดสท็อปที่มีออกมา และ สถาปัตยกรรม Intel x86, AMD64 และ SPARC ของเครื่องแม่ข่าย แต่ก็ยังไม่สนับสนุนสถาปัตยกรรมของ PowerPC (ในเวอร์ชัน7.04 นั้นก็ยังพอที่จะสนับสนุนสถาปัตยกรรมPowerPC ) , IA-64 (Itanium) และ เครื่องเล่นเกมส์ PlayStation 3 สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆที่ไม่ได้อยู่ในระบบที่แนะนำก็ยังพอมี Xubuntu,ที่มีพื้นฐานมาจาก Xfce,ที่ต้องการ หน่วยความจำหลัก และพื้นที่ว่างเพียงครึ่งเดียวที่แนะนำ

[แก้] Server Edition
เครื่องที่เก่ามากๆก็เป็นไปได้ที่จะลงระบบปฏิบัติการนี้ได้ (เช่น 75 MHz Pentium หน่วยความ จำหลัก 32 MB) , ระบบขั้นต่ำที่แนะนำที่ได้ประสิทธิภาพที่สุดดังนี้:
ไมโครโปรเซสเซอร์ 300 MHz สถาปัตยกรรมx86
หน่วยความจำหลัก 64 MB
พื้นที่ Harddisk 500 MB
การ์ดแสดงผลได้ที่ความละเอียด 640×480 pixel
ไดร์ฟ CD-ROM

[แก้] Desktop Edition
สำหรับรุ่นที่ใช้กับเครื่องเดสท็อปนั้นมีการแนะนำระบบขั้นต่ำที่ได้ประสิทธิภาพที่สุดดังนี้:
ไมโครโปรเซสเซอร์ 500 MHz สถาปัตยกรรมx86
หน่วยความจำหลัก 192 MB
พื้นที่ Harddisk 8 GB (ในการติดตั้งจริงต้องการ 4 GB )
การ์ดแสดงผลได้ที่ความละเอียด 1024×768 pixel
การ์ดประมวลผลทางเสียง (ถ้ามี)
การ์ดเชื่อมต่อกับระบบเน็ตเวิร์ก