วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ISDN

ISDN
ISDN
มาจากคำว่า Integrated Services Digital Network เป็นโครงข่ายโทรคมนาคมสื่อสารระบบใหม่ที่รวมการให้บริการสื่อสารที่มีเดิมทั้งหมด (เช่น โทรศัพท์ โทรสาร เทเล็กซ์ คอมพิวเตอร์ ดาต้าเทอร์มินอลที่ใช้ติดต่อกับเมนเฟรม เทเลเท็กซ์ วีดีโอเท็กซ์) รวมทั้งบริการสื่อสารอื่นๆ ที่ทันสมัย (เช่น วีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์) มาใช้งานร่วมกันในโครงข่ายนี้ได้เพียงโครงข่ายเดียว โดยโครงข่ายนี้สามารถติดต่อสื่อสารได้ทั้งเสียง ข้อมูล และภาพ ด้วยสัญญาณดิจิตอลทั้งระบบ

ประสิทธิภาพของบริการ ISDN

รายการ

ISDN

SPC

1. สัญญาณที่ส่ง

ดิจิตอล

อนาล็อก

2. ความเร็ว

เท่ากับหรือมากกว่า 64 Kbps

น้อยกว่า 64 Kbps

3. การใช้งานอุปกรณ์ในคู่สาย

2 อุปกรณ์พร้อมกัน

1 อุปกรณ์

4. ชนิดของสัญญาณที่ใช้งาน

เสียง ข้อมูล และภาพ

เสียง ข้อมูล

จากตารางจะแสดงการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของบริการ ISDN กับระบบโทรศัพท์ธรรมดา(Store Program Control-SPC)ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ให้เห็นความแตกต่างได้ดังนี้คือ

1. สัญญาณที่ส่ง(ระหว่างผู้ใช้บริการจนถึงชุมสาย) ระบบ ISDN จะมีการส่งสัญญาณเป็นระบบดิจิตอลตั้งแต่อุปกรณ์สื่อสาต้นทางส่งต่อไปยัง ชุมสายต้นทางแล้วส่งสัญญาณดิจิตอลต่อเนื่องเรื่อยไปจนถึงชุมสายปลายทาง ก็จะส่งสัญญาณดิจิตอลนี้ไปให้ถึงอุปกรณ์สื่อสารปลายทาง เรียกว่าเป็นการสื่อสารในรูปแบบ End-to-End Digital ข้อดีของการส่งสัญญาณดิจิตอลในรูปแบบนี้ทำให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ข้อมูล และภาพ ส่งถึงปลายทาง มีความถูกต้อง ชัดเจน ครบถ้วน สมบูรณ์ ลดปัญหาเรื่องสัญญาณรบกวนในคู่สาย ได้ดีกว่าระบบโทรศัพท์ธรรมดาที่ใช้กันอยู่ ซึ่งสัญญาณที่ส่งออกจากอุปกรณ์ต้นทางเป็นสัญญาณอนาล็อกไปยังชุมสายต้นทาง ชุมสายจะแปลงสัญญาณเป็นดิจิตอลส่งต่อเรื่อยไปจนถึงชุมสายปลายทางจะแปลง สัญญาณดิจิตอลกลับเป็นสัญญาณอนาล็อกส่งไปยังอุปกรณ์ปลายทาง ซึ่งการส่งสัญญาณรูปแบบนี้ในระบบ SPC ปัญหาที่เกิดขึ้นจะเกิดจากสัญญาณรบกวนในขณะที่ส่งเป็นสัญญาณอนาล็อก ทำให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ส่งไปถึงปลายทางมีความผิดเพี้ยนไปจากเดิม ทำให้เกิดปัญหา เช่น โทรศัพท์มีสัญญาณรบกวน มีเสียงซ่า โทรสารส่งไปถึงปลายทางสำเนาเอกสารที่รับที่เครื่องปลายทางมีปัญหา เช่น ภาพมัว ไม่ชัด ได้รับไม่ครบหน้า ส่วนข้อมูลที่ส่งไปถึงปลายทางเกิด Error นำไปใช้งานไม่ได้ เหล่านี้เป็นต้น

2. ความเร็วที่ใช้งานผ่านระบบ ISDN ได้ ปัจจุบันอุปกรณ์สื่อสารในระบบ ISDN สามารถรองรับการใช้งานที่ความเร็วมาตรฐานของระบบ ISDN อย่างต่ำที่ 64 Kbps(กิโลบิตต่อวินาที) จนถึงสามารถใช้ความเร็วที่สูงสุดระดับ 2.048 Mbps(เม็กกะบิตต่อวินาที, 1 Mbps=1000 Kbps) ได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของอุปกรณ์สื่อสารระบบ ISDN เป็นสำคัญ ในขณะที่โครงข่ายโทรศัพท์ SPC ที่ใช้กันอยู่ปัจจุบัน ความเร็วสูงสุดที่ใช้กันผ่านโทรสารระบบธรรมดาจะมีความเร็วเพียง 14.4 Kbps ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้งานได้เร็วขึ้นมาอีกก็คืออุปกรณ์ Modem ใช้งานได้สูงสุดเพียง 56 Kbps แต่ในการใช้งานจริงความเร็วไม่สามารถทำได้ตามความสามารถสูงสุดของ Modem ที่เป็นเช่นนี้เพราะการส่งข้อมูลผ่านโครงข่ายโทรศัพท์ในปัจจุบัน ซึ่งเหมาะสำหรับการส่งสัญญาณเฉพาะเสียงเท่านั้น ไม่เหมาะสำหรับการส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง ถึงแม้จะมีการพัฒนาการ Modulation สัญญาณข้อมูลให้ส่งในรูปแบบของสัญญาณเสียงได้ก็ตาม ประกอบกับสภาพคู่สายโทรศัพท์ที่ใช้งานอยู่มีสัญญาณรบกวนมากน้อย มีผลต่อความเร็วในการรับส่งข้อมูลผ่านโครงข่ายโทรศัพท์ SPC ทำให้ใช้งานสื่อสารข้อมูลได้ไม่เต็มที่

3. คู่สายระบบ ISDN สามารถรองรับการติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารเพื่อรอการใช้งานได้สูงสุดถึง 8 อุปกรณ์ และยังสามารถใช้งานอุปกรณ์สื่อสารในคู่สาย ISDN ได้พร้อมกันถึง 2 เครื่อง เช่น ในขณะที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ Link อินเตอร์เนตที่ความเร็ว 64 Kbps มีคนโทรศัพท์เข้ามาในคู่สาย ISDN สามารถรับสายโทรศัพท์ที่ติดตั้งในคู่สาย ISDN เดียวกันได้ทันที โดยอินเตอร์เนตที่เชื่อมต่ออยู่ไม่หลุดและใช้งานได้ตามปกติ หรือ อาจจะเป็นการโทรศัพท์จากคู่สาย ISDN ออกไปหาใครก็ได้ โดยเลขหมายปลายทางของอุปกรณ์ทั้ง 2 อย่างที่ใช้ติดต่อพร้อมกันอยู่นี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเลขหมายเดียวกัน เพราะคู่สาย ISDN จะมีช่องสัญญาณสื่อสารถึง 2 ช่องสัญญาณ แต่ละช่องสัญญาณเป็นอิสระต่อกัน ในขณะที่การติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารในคู่สายโทรศัพท์ธรรมดา จะต่อพ่วงอุปกรณ์สื่อสารกี่เครื่องก็ตาม แต่จะใช้งานได้เพียง 1 อุปกรณ์เท่านั้น

ประเภทของบริการ ISDN

ปัจจุบันองค์การโทรศัพท์เปิดให้บริการ ISDN อยู่ 2 ประเภท คือ

1. บริการแบบ BAI (Basic Access Interface = 2B+D) บริการ แบบนี้ ทศท. จะให้บริการโดยเดินสายตรงด้วยคู่สายทองแดงปกติ (สายทองแดง 2 เส้นเหมือนกับการให้บริการโทรศัพท์ระบบธรรมดา)ไปยังผู้ใช้บริการ โดยใน 1 คู่สาย BAI นี้ ผู้ใช้บริการสามารถเดินสายภายในเพื่อติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารในคู่สายเดียวกัน ได้สูงสุดถึง 8 อุปกรณ์ และสามารถใช้งานอุปกรณ์สื่อสารในคู่สาย ISDN เดียวกันได้พร้อมกัน 2 อุปกรณ์ในเวลาเดียวกัน ที่ความเร็วเครื่องละ 64 Kbps โดยอาศัยช่องสัญญาณ B ที่มีอยู่ในคู่สาย ISDN 2 ช่องสัญญาณ แต่ละช่องสัญญาณเป็นอิสระต่อกัน ตัวอย่างเช่น ในคู่สาย ISDN เดียวกันมีการติดตั้งโทรศัพท์ไว้ 2 เครื่อง เครื่องที่ 1 โทรออกไปปลายทางที่เชียงใหม่ เครื่องที่ 2 สามารถโทรออกหรือรับสายที่เรียกเข้ามาจากเครื่องปลายทางที่อยู่ที่หาดใหญ่ ได้ เป็นต้น บริการ BAI เหมาะสำหรับผู้ใช้บริการตามบ้านพักอาศัย ธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ สถาบันองค์กรหน่วยงานราชการรัฐวิสาหกิจที่ต้องการจำนวนอุปกรณ์สื่อสารที่ ติดต่อกับบุคคลจำนวนไม่มากนัก

2. บริการแบบ PRI (Primary Rate Interface = 30 B+D) บริการแบบนี้เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่สถาบันองค์กรหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจที่ต้องการช่องสัญญาณสื่อสารจำนวนมาก ทศท. จะให้บริการโดยเดินคู่สายความเร็วระดับ 2.048 Mbps ให้แก่ผู้ใช้บริการ โดยลักษณะของคู่สาย PRI ที่ ทศท. จะนำมาให้บริการแก่ผู้ใช้บริการจะมีอยู่ 2 รูปแบบ ดังนี้คือ

2.1 สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) ในขณะนี้ ทศท.มีการสร้างข่ายสายใยแก้วนำแสงตามย่านธุรกิจต่างๆ หลายเส้นทาง ลูกค้ารายใดที่ขอใช้บริการ PRI และอยู่ในแนวเส้นทางสายไฟเบอร์ออพติดของ ทศท. ที่สร้างไว้ ก็มีโอกาสที่ได้ใช้บริการ PRI ที่เป็นสายไฟเบอร์ออพติดได้ หรือ

2.2 สายทองแดง(Copper Cable) ในกรณีที่ลูกค้าที่ขอใช้บริการ PRI แต่ไม่อยู่ในแนวเส้นทางสายไฟเบอร์ออพติคขององค์การโทรศัพท์ที่สร้างไว์ องค์การโทรศัพท์ก็จะให้บริการเป็นสายทองแดงแทน โดยจะเชื่อมต่อกับลูกค้าโดยมาต่อผ่านอุปกรณ์พิเศษที่เรียกว่าอุปกรณ์ HDSL แล้วนำมาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ของลูกค้าที่รองรับคู่สาย PRI ได้ ลูกค้าก็ยังสามารถได้ใช้บริการสื่อสารสูงระดับ 2.048 Mbps ได้เหมือนกับลูกค้าได้ใช้บริการ PRI แบบสายไฟเบอร์ออพติค

คู่สาย PRI ที่ลูกค้าใช้บริการอยู่นี้จะมีช่องสัญญาณ B ซึ่งเป็นช่องสัญญาณสื่อสาร มีถึง 30 ช่องสัญญาณ ที่ความเร็วช่องสัญญาณละ 64 Kbps แต่ละช่องสัญญาณเป็นอิสระต่อกัน ผู้ใช้บริการสามารถนำคู่สาย PRI มาต่อเข้าตู้สาขาอัตโนมัติ(ISDN PABX) ของผู้ใช้บริการ ทำให้อุปกรณ์สื่อสารที่ติดตั้งหลังตู้สาขาสามารถติดต่อกับบุคคลภายนอกได้ 30 เครื่องพร้อมกัน หรือนำมาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Remote Access Server (ในกรณีผู้ใช้บริการเป็น Internet Service Provider หรือองค์กรหน่วยงานขนาดใหญ่ที่ต้องการรองรับการ Access จาก User ทางไกลเป็นจำนวนมาก) รองรับการ Access จาก User ที่อยู่ห่างไกลออกไปได้พร้อมกันถึง 30 Users ที่ความเร็ว 64 Kbps หรืออาจจะนำมาเชื่อมต่อเข้ากับ Router ความเร็วสูง 2.048 Mbps เพื่อเชื่อมการติดต่อระหว่าง Netwok ที่เชื่อมต่อกันระหว่าง LAN (Local Area Network) ตั้งแต่ 2 วงขึ้นไปเข้าหากันได้ เช่น LAN ของสำนักงานใหญ่รองรับการติดต่อจาก LAN ที่อยู่ที่สาขาพร้อมๆ กันหลายสาขา หรืออาจจะนำมาต่อผ่านอุปกรณ์ Video Conference ความเร็วสูง 2.048 Mbps ได้เช่นกัน

หมาเหตุ : สำหรับช่องสัญญาณ D ที่มีอยู่ในทั้งบริการ BAI และ PRI เป็นช่องสัญญาณที่ทำหน้าที่ขอใช้บริการ โดยส่งสัญญาณ Signalling ติดต่อกับชุมสาย และควบคุมการใช้งานของช่องสัญญาณ B ปัจจุบันผู้ใช้บริการ ISDN ไม่สามารถใช้งานช่องสัญญาณ D นี้ได้
การเดินสายในเพื่อติดตั้งคู่สาย ISDN ประเภท BAI สามารถทำได้ 3 รูปแบบ คือ

1. Short Passive Bus สามารถเดินสายภายในต่อจากอุปกรณ์ Network Terminal (NT) ในคู่สาย ISDN สามารถเดินสายได้ไกลสูงสุดในระยะทาง 100-200 เมตร โดยสามารถติดตั้งจุดติดตั้งอุปกรณ์(ISDN PLUG)ได้สูงสุด 8 จุด แต่ละจุดจะห่างกันได้ไม่เกิน 25-50 เมตร

2. Extended Passive Bus สามารถขยายการเดินสายภายในต่อจากอุปกรณ์ Network Terminal (NT) ในคู่สาย ISDN ได้ระยะทางไกลสูงสุดในระยะทาง 500 เมตร โดยสามารถติดตั้งจุดติดตั้งอุปกรณ์ได้สูงสุด 4 จุด แต่ละจุดจะห่างกันได้ไม่เกิน 25-50 เมตร

3. Point-to-Point สามารถขยายการเดินสายภายในต่อจากอุปกรณ์ Network Terminal (NT) ในคู่สาย ISDN ได้ระยะทางไกลสูงสุดในระยะทาง 1,000 เมตร แต่จะสามารถติดตั้งจุดติดตั้งอุปกรณ์ได้เพียง 1 จุดเท่านั้น

หมายเหต : ลักษณะสายที่ใช้ในการเดินสายภายในจะเป็นสายเคเบิ้ลทองแดง 4 เส้น


อัตราค่าใช้บริการ

1. ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งคู่สายบริการ ISDN

รายการ

บริการ BAI

บริการ PRI

1.ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง

1.1 เงินประกัน

2,727.27

81,818.18

1.2 ค่าติดตั้ง

3,350.00

100,500.00

รวม ( ยังไม่รวม VAT 7%)

6,077.27

182,318.18

2.ค่าใช้จ่ายรายเดือน

2.1 ค่าเช่าเลขหมาย

100.00

7,500.00

2.2 ค่าเช่า Network Terminal

100.00

-

รวม ( ยังไม่รวม VAT 7%)

200.00

7,500.00

2. รายการอุปกรณ์ระบบ ISDN ที่องค์การโทรศัพท์มีให้เช่า

รายการอุปกรณ์ให้เช่า

ราคาเช่าต่อเครื่อง/เดือน

1. Network Terminal (NT)

100.00

2. โทรศัพท์ดิจิตอลระบบ ISDN

150.00

3. อัตราค่าใช้บริการสื่อสาร

รายการ

ค่าใช้บริการ

ติดต่อภายในท้องถิ่น

3 บาท/ครั้ง

ติดต่อข้ามจังหวัด

อัตราค่าโทรทางไกลต่างจังหวัดปกติ

ติดต่อต่างประเทศ

-โทรศัพท์

อัตราค่าโทรทางไกลต่างประเทศปกติ

-อุปกรณ์อื่น ๆ (โทรสาร, ข้อมูล, Video conference ฯลฯ)

อัตราค่าโทรทางไกลต่างประเทศปกติ + 10%

หมายเหต

1. ค่าเช่าอุปกรณ์ Network Terminal ในตารางที่ 1 คือรายการเดียวกับค่าเช่า Network Terminal (NT) ในตารางที่ 2 แต่ถ้าผู้ใช้บริการ ISDN จัดซื้ออุปกรณ์ NT มาใช้งานเอง ก็จะไม่มีค่าใช้จ่ายรายเดือนเป็นค่าเช่า NT ในตาราง 1 หัวข้อ 2.2 ค่าใช้จ่ายรายเดือนจะเหลือเพียงค่าเช่าเลขหมาย 100 บาทเท่านั้น

2. อัตราค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่มีตามตารางข้างบนทั้ง 3 ตาราง ต้องบวกเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7%


อุปกรณ์ระบบ ISDN

1. โทรศัพท์ดิจิตอลระบบ ISDN

ความเร็ว 64 Kbps(กิโลบิตต่อวินาที)

ข้อดี เสียงดัง ชัดเจน ไร้สัญญาณรบกวน สามารถแสดงเลขหมายต้นทางที่เรียกเข้าให้เห็นที่หน้าจอโทรศัพท์ได้

2. โทรสารดิจิตอลระบบ ISDN (Facsimile Group 4 -G4)

ความเร็ว 64 Kbps

ข้อดี มีความเร็วสูงกว่ากว่าโทรสารระบบธรรมดา(Facsimile Group 3-G3 ความเร็วสูงสุด 14.4 Kbps) ถึง 3 เท่า สามารถทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่ง Fax ทางไกลได้ สำเนาเอกสารที่ได้รับที่เครื่องปลายทางจะมีความชัดเจน ครบถ้วน ได้ดีกว่าส่งด้วยเครื่อง Fax ระบบธรรมดาที่ใช้งานผ่านคู่สายโทรศัพท์ธรรมดาในปัจจุบัน

3. ISDN CARD เป็นอุปกรณ์สื่อสารข้อมูลในระบบ ISDN ในลักษณะ INTERNAL EQUIPMENT ใช้แทน INTERNAL MODEM ที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ธรรมดา

ความเร็ว 64-128 Kbps

ข้อดี มีความเร็วสูงกว่าการรับส่งข้อมูลด้วยอุปกรณ์ Modem ธรรมดา(ความเร็ว 56 Kpbs แต่เวลาใช้งานจริง ความเร็วจะไม่ได้ตามความสามารถของ Modem)ที่ใช้งานผ่านคู่สายโทรศัพท์ระบบธรรมดาที่ใช้กันอยู่ทั่วไป นอกจากนี้ยังส่งสัญญาณดิจิตอล ทำให้ข้อมูลข่าวสารที่ส่งผ่านด้วยระบบดิจิตอล โอกาสเกิดความผิดพลาดของข้อมูลข่าวสารจะมีน้อยกว่าส่งด้วย Modem ธรรมดา ซึ่งยังเป็นการส่งสัญญาณอนาล็อกอยู่

4. TERMINAL ADAPTER เป็นอุปกรณ์สื่อสารข้อมูลในระบบ ISDN ในลักษณะ EXTERNAL EQUIPMENT ใช้แทน EXTERNAL MODEM ที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ธรรมดา นอกจากนี้บางรุ่นยังมีพอร์ตแปลงสัญญาณ ซึ่งเรียกว่า พอร์ตอนาล็อก ด้วย สามารถนำอุปกรณ์ระบบเดิมมาต่อพ่วงใช้งานในคู่สาย ISDN ได้ด้วย

ความเร็ว 64-128 Kbps

มีความเร็วสูงกว่าการรับส่งข้อมูลด้วยอุปกรณ์ Modem ธรรมดา(ความเร็ว 56 Kpbs แต่เวลาใช้งานจริง ความเร็วจะไม่ได้ตามความสามารถของ Modem ที่ใช้งานผ่านคู่สายโทรศัพท์ระบบธรรมดาที่ใช้กันอยู่ทั่วไป) นอกจากนี้ยังส่งด้วยสัญญาณดิจิตอล ทำให้ข้อมูลข่าวสารที่ส่งผ่านด้วยระบบดิจิตอล โอกาสเกิดความผิดพลาดของข้อมูลข่าวสารจะมีน้อยกว่าส่งด้วย Modem ธรรมดา ซึ่งยังเป็นการส่งสัญญาณอนาล็อกอยู่

5. SMART NT or NT+INTERNET เป็นอุปกรณ์ NT (NETWORK TERMINAL) ที่รวมอุปกรณ์ TA (TERMINAL ADAPTER) เข้าไว้ในอุปกรณ์เดียวกัน (2 in 1 Equipment) ผู้ใช้บริการสามารถใช้งานสื่อสารได้หลายอย่าง เพราะอุปกรณ์นี้จะมีพอร์ตข้อมูลไว้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ใช้งานอินเตอร์เนตได้ มีพอร์ตอนาล็อก ใช้ต่ออุปกรณ์ระบบเดิม เช่น โทรศัพท์ธรรมดา, Fax ธรรมดา หรือแม้แต่ Modem ธรรมดา ก็ต่อใช้งานได้เช่นกัน รวมทั้งยังมีพอร์ต S/T ที่รองรับการเชื่อต่ออุปกรณ์อื่นๆ ในระบบ ISDN ได้ เช่น โทรศัพท์ระบบ ISDN, ISDN ROUTER, VIDEO PHONE เป็นต้น

ความเร็ว 64-128 Kbps

ข้อดี ลดจำนวนอุปกรณ์ที่ติดตั้งลง ใช้เนื้อที่ไม่มากเหมือนกับกรณีอุปกรณ์ NT ตั้งแยกต่างหากจากอุปกรณ์ TA

6. ISDN ROUTER เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานในการเชื่อมการติดต่อระหว่างเครือข่าย LAN ตั้งแต่ 2 วงขึ้นไปเข้าหากันได้

ความเร็ว ปกติ 64-128 Kbps บางรุ่นบางยี่ห้อสามารถ Upgrade ความเร็วเพิ่มขึ้นได้ เช่น 256 Kbps จนถึง 2.048 Mbps (เมกกะบิตต่อวินาที)

ข้อดี มีความเร็วสูงกว่าการรับส่งข้อมูลด้วย Router ระบบธรรมดาที่เชื่อมการติดต่อระหว่าง LAN เข้าหากันด้วย Modem ธรรมดา

7. ISDN LAN MODEM (ISDN HUB) เป็นอุปกรณ์ Hub ที่มีการ Bulit-in ISDN CARD หรือ Terminal Adapter เข้าไป โดยสามารถนำคู่สาย ISDN เชื่อมต่อโดยตรงเข้ากับอุปกรณ์นี้ได้ทันที ทำให้สามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องผ่านอุปกรณ์ในการ Share รับส่งข้อมูลด้วย Potocol TCP/IP ซึ่งเป็น Protocol ที่ใช้งานผ่านระบบอินเตอร์เนตได้ (IP Sharing) ปัจจุบันอุปกรณ์นี้ได้รับความนิยมมาใช้งานในร้านอินเตอร์เนตคาเฟ่ค่อนข้างมาก

ความเร็ว 64-128 Kbps

8. ตู้สาขาระบบ ISDN (ISDN PABX) เป็น อุปกรณ์ที่รองรับการติดต่อระหว่างบุคคลภายในองค์กรบริษัทหรือหน่วยงาน เดียวกัน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการ Call โดยตู้สาขาระบบ ISDN ที่ฒ๊จัดจำหน่ายในท้องตลาดจะมีทั้งตู้สาขารุ่นเล็กที่รองรับคู่สาย BAI และตู้รุ่นใหญ่ที่รองรับคู่สาย PRI ได้

9. โทรศัพท์ภาพระบบ ISDN (VIDEO PHONE)เป็นโทรศัพท์รุ่นที่มีจอภาพ โดยสามารถคุยโทรศัพท์แล้วเห็นหน้าคู่สนทนาได

ความเร็ว 128 Kbps

10. DESKTOP VIDEO CONFERENCE เป็น คอมพิวเตอร์ที่นำมาต่อกล้องจับภาพ โทรศัพท์ต่อพ่วง รวมทั้งอุปกรณ์ ISDN CARD ทำให้สามารถคุยโทรศัพท์แล้วเห็นหน้าคู่สนทนาได้พร้อมทั้งใช้รับส่งข้อมูล ระหว่างกันได

ความเร็ว 128 Kbps บางรุ่นสามารถ Upgrade ความเร็วเพิ่มเป็น 384 Kbps (โดยใช้คู่สาย BAI จำนวน 3 คู่สาย)

11. VIDEO CONFERENCE เป็นอุปกรณ์ประชุมทางไกลผ่านจอภาพ

ความเร็ว 128 Kbps สามารถ Upgrade ความเร็วเพิ่มเป็น 384 Kbps (โดยใช้คู่สาย BAI จำนวน 3 คู่สาย) จนถึง 2.048 Mbps (โดยใช้คู่สาย PRI)

ข้อดี สามารถใช้งานประชุมทางไกลผ่านจอภาพได้ในลักษณะ Point-to-Multipoint ได้ หมายถึง สำนักงานใหญ่สามารถประชุมกับสาขาต่างๆ ได้พร้อมๆ กันครั้งละหลายที่ได้

12. อุปกรณ์อื่นๆ ในระบบ ISDN เช่น

  1. ISDN REMOTE ACCESS รับรองการเชื่อมต่อทางไกลจาก USER ที่สื่อสารทางไกลผ่านคู่สาย ISDN ที่บ้าน เชื่อมต่อเข้ามายังองค์กรบริษัทที่มีการติดตั้งคู่สาย ISDN ต่อเข้ากับอุปกรณ์ ISDN REMOTE ACCESS ดังกล่าวนี้

  2. ISDN MULTIPLEXER (MUX) รองรับ การเชื่อมต่ออุปกรณ์หลายอุปกรณ์ที่ทำการเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์ ISDN MUX นี้จากต้นทาง่ไปปลายทางเดียวกันทั้งหมดที่มีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ปลายทาง จำนวนเท่ากับต้นทางผ่านอุปกรณ์ดังกล่าวนี้เช่นกัน สื่อสารด้วยความเร็วสูงผ่านระบบ ISDN เพื่อลดจำนวนช่องสัญญาณสื่อสารในการใช้งาน ทำให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการสื่อสารได้

  3. ISDN BACKUP เป็นอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อได้ทั้งคู่สายเช่า (LEASED LINE) และคู่สายระบบ ISDN โดยการทำงานสื่อสารหลักจะอยู่ที่คู่สายเช่า หากคู่สายเช่าที่ใช้งานอยู่เกิด Down ขึ้นมา สามารถให้ทำการ Auto Dial คู่สาย ISDN ใช้งานสื่อสารแทนคู่สายเช่าได้ชั่วคราว และเมื่อคู่สายเช่ากลับมาใช้งานได้ตามปกติ ก็ทำการ Hang Up การสื่อสารผ่านคู่สาย ISDN ได้

  4. VIDEO SURVEILLANCE เป็นอุปกรณ์ที่หลักการทำงานเหมือนกับระบบทีวีวงจรปิด แต่อุปกรณ์ดังกล่าวนี้จะประยุกต์ติดตั้งใช้งานในกรณีที่จุดที่ทำการ Monitor Site ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย (SECURITY) จะอยู่คนละสถานที่ที่ห่างไกลกันจากจุด Remote Site เช่น คนละอาคาร คนละจังหวัด เป็นต้น จุด Remote Site จะส่งสัญญาณภาพจากคู่สายระบบ ISDN ส่งต่อมายังคู่สาย ISDN ที่มาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ ทางด้าน Monitor Site ทำการควบคุมดูแลรักษาปลอดภัยให้กับสาขา โรงงาน คลังสินค้า เป็นต้น

  5. ประโยชน์ที่ผู้ใช้บริการ ISDN จะได้รับ

    1. ความน่าเชื่อถือในการับส่งข้อมูลข่าวสาร ปกติในการสื่อสารผ่านคู่สายโทรศัพท์ในระยะทางไกลจะเกิดจากสัญญาณรบกวน(Noise) ในสายโทรศัพท์ ทำให้ข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปเกิดความเพี้ยน(Distortion) โดยเฉพาะการใช้งานผ่านระบบโทรศัพท์ระบบธรรมดาที่ใช้ส่งด้วยสัญญาณอนาล็อก เพราะเมื่อสัญญาณเกิดความเพี้ยนแล้ว ตรวจสอบหาค่าที่ถูกต้องได้ยาก การรับส่งข้อมูลข่าวสารผ่านระบบโทรศัพท์ธรรมดาจึงมักเกิดปัญหาในการใช้งาน แต่เนื่องจากระบบ ISDN เป็นระบบการสื่อสารด้วยสัญญาณดิจิตอลทั้งระบบ (End-to-End Digital) ซึ่งระบบดิจิตอลเป็นระบบที่ไม่ Sensitive ต่อสัญญาณรบกวน และถึงแม้จะมีสัญญาณรบกวนในคู่สายโทรศัพท์ ทำให้ค่าเกิดความเพี้ยนบ้าง แต่ระบบดิจิตอลก็ยังสามารถตรวจสอบค่าที่ถูกต้องที่ปลายทางได้ง่ายกว่าระบบที่สื่อสารด้วยสัญญาณอนาล็อก ทำให้ข้อมูลข่าวสารที่ส่งผ่านระบบ ISDN จะไปถึงปลายทางด้วยความถูกต้อง ชัดเจน ครบถ้วน สมบูรณ์ ดีกว่าการใช้งานผ่านคู่สายระบบโทรศัพท์ธรรมดา ทำให้ข้อมูลข่าวสารส่งถึงปลายทางมีความน่าเชื่อถือได้มากกว่าการส่งผ่านคู่สายระบบโทรศัพท์ธรรมดา

    2. ความเร็วในการใช้งานรับส่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่สูงขึ้นกว่าการใช้งานผ่านคู่สายโทรศัพท์ระบบธรรมดา อุปกรณ์ระบบ ISDN สามารถรองรับการสื่อสารผ่านคู่สายโทรศัพท์ ISDN ด้วยความเร็วตั้งแต่ 64 Kbps จนถึงความเร็วที่ 2,048 Mbps ที่ให้บริการโดยคู่สาย PRI ในขณะที่คู่สายโทรศัพท์ธรรมดาไม่สามารถรองรับการส่งสัญญาณสื่อสารได้ตามความ เร็วที่ระบบ ISDN ทำได้ อุปกรณ์ Modem ของระบบโทรศัพท์ธรรมดาสามารถรองรับความเร็วได้สูงสุด 56 Kbps แต่ในการใช้งานจริงก็ไม่สามารถใช้งานได้เต็มที่ตามความสามารถของ Modem ได้ เพราะฉะนั้นการใช้งานผ่านระบบ ISDN จะทำให้สามารถรับส่งข้อมูลข่าวสารได้ในปริมาณมากและรวดเร็วกว่าการใช้งาน ผ่านคู่สายโทรศัพท์ธรรมดา นอกจากนี้ยังสามารถทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการสื่อสารในระยะทางไกลข้าม จังหวัดได้ เพราะค่าใช้บริการสื่อสารผ่านระบบ ISDN จะใช้อัตราเดียวกับค่าใช้บริการสื่อสารผ่านระบบโทรศัพท์ธรรมดาด้วย

    3. เกิดความคล่องตัวในการเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์สื่อสารให้เหมาะสมในการใช้งาน คู่สาย ระบบ ISDN เปรียบเสมือนคู่สายโทรศัพท์อเนกประสงค์ที่สามารถติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารอะไร ก็ได้ตามความต้องการใช้งานในแต่ละขณะ สามารถใช้งานอุปกรณ์สื่อสารที่ทันสมัย( เช่น อุปกรณ์ Video Conference เป็นต้น) ได้หลากหลายกว่าการใช้คู่สายโทรศัพท์ธรรมดา นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานอุปกรณ์ที่มีอยู่ในระบบเดิมได้ด้วย จึงทำให้คู่สายระบบ ISDN มีความคล่องตัวในการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารได้ดีกว่าการใช้งานผ่านคู่สาย โทรศัพท์ธรรมดาเป็นอย่างมาก

    4. สามารถรองรับการให้บริการสื่อสารในรูปแบบใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ใน ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการ ISDN ส่วนหนึ่งที่ใช้งานการสื่อสารทางด้านภาพ เช่น ใช้อุปกรณ์ Video Conference เพื่อใช้งานในการประชุมทางไกลผ่านจอภาพได้ อย่างไรก็ตามการสื่อสารทางด้านภาพที่ทำได้ผ่านระบบ ISDN สามารถก่อให้เกิดการประยุกต์การใช้งานการสื่อสารได้ค่อนข้างหลากหลาย ซึ่งสามารถจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ เช่น

    4.1 Tele-education หรือ Tele training การเรียนการสอนอบรมทางไกล โดยครูอาจารย์ผู้ฝึกสอนสามารถทำาการสอนอบรมนักเรียนนักศึกษาผู้เข้ารับการอบรมทางไกลได้ โดยที่ทั้ง 2 ฝ่ายไม่จำเป็นต้องมารวมกันในสถานที่เดียวกัน ลักษณะการเรียนการสอนอบรมจะเป็นการสื่อสารในลักษณะ 2 ทาง(Interactive or 2 ways Communication) ในขณะที่ระบบการเรียนการสอนในระบบเดิมที่ทำผ่านโทรทัศน์ วิทยุ เป็นการสื่อสารในลักษณะทางเดียวเท่านั้น

    4.2 Telemedicine การรักษาพยาบาลทางไกล โดย แพทย์อยู่ต่างจังหวัดจะมีผู้ป่วยรอรับการรักษา แพทย์ในต่างจังหวัดจะทำการติดต่อสื่อสารกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในกรุงเทพฯ ผ่านอุปกรณ์ Video Conference รวมทั้งส่งข้อมูลของผู้ป่วย ซึ่งอาจจะเป็นภาพเอ๊กซ์เรย์ คลื่นหัวใจ ภาพขยายจากการส่องกล้องเข้าไปในอวัยวะภายในของผู้ป่วยไปให้แพทย์ ผู้เชี่ยวชาญในกรุงเทพฯ วินิจฉัยและแนะนำแพทย์ต่างจังหวัดดำเนินการรักษาผู้ป่วยได้ โดยไม่ต้องส่งผู้ป่วยเข้ากรุงเทพฯ ทำการรักษา

    4.3 Tele-shopping หรือ E-commerce ใน อนาคตผู้ซื้อผู้ขายสามารถการเจรจาตกลงซื้อขายสินค้าบริการกันแบบหน้ากันทั้ง 2 ผ่ายผ่านจอคอมพิวเตอร์หรือโทรทัศน์ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางออกไปเจรจาทำข้อตกลงในการซื้อขายสินค้าบริการกัน เสมอไป ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายลงได้

    4.4 Tele Surviellance ระบบดูแลรักษาความปลอดภัยทางไกล โดย จะมีการติดกล้องวีดีโอตามจุดต่างๆ ที่สำคัญในบริเวณโกดัง คลังสินค้า บริษัทห้างร้าน สาขา แล้วส่งสัญญาณภาพที่จับได้จากกล้องวีดีโอมายังศูนย์กลาง ซึ่งอาจจะเป็นสำนักงาน(Office) สำนักงานใหญ่ สถานีตำรวจ ซึ่งอยู่คนละสถานที่กันเช่น คนละอาคาร คนละจังหวัด เป็นต้น เพื่อตรวจดูความปกติเรียบร้อยของจุดที่ติดกล้องวีดีโอปลายทาง หากเกิดเหตุฉุกเฉินที่ปลายทางสามารถส่งสัญญาณเตือนภัย (Alarm Signal) ส่งกลับมายัง ศูนย์กลางที่ทำการควบคุมได้ เพื่อแก้ไขเหตุการณ์ได้ตามสมควรต่อไปได้ เหล่านี้เป็นต้น

    5. ผู้ใช้บริการ ISDN สามารถติดต่อสื่อสารไปยังผู้ใช้บริการในระบบโทรศัพท์ธรรมดาได้ โดยใช้โทรศัพท์หรือโทรสารในคู่สาย ISDN ติดต่อสื่อสารไปยังเลขหมายปลายทางที่เป็นระบบโทรศัพท์ธรรมดาได้ทันที เพิ่มความสะดวกในการใช้งาน โดยไม่ถูกจำกัดให้ใช้บริการ ISDN ติดต่อกันเฉพาะผู้ใช้บริการ ISDN ด้วยกันเท่านั้น

    6. สามารถป้องกันการลักลอบดักฟังสัญญาณได้ เนื่องจากคู่สาย ISDN จะมีการส่งสัญญาณด้วยระบบดิจิตอล สามารถป้องกันการลักลอบดักฟังสัญญาณได้ดีกว่าระบบโทรศัพท์ธรรมดา ซึ่งส่งเป็นสัญญาณอนาล็อก

  6. QUIZ

  7. 1. เครือข่ายบริการร่วมระบบดิจิตอล (ISDN) ยึดมาตรฐานการให้บริการขององค์กรใด
    1. ISO 2. CCITT
    3. OSI 4. ITU
    2. อัตราเร็วมาตรฐานในการส่งข้อมูลของระบบ ISDN อยู่ที่เท่าใด
    1. 64 Kbps 2. 128 Kbps
    3. 256 Kbps 4. 512 Kbps
    3. มาตรฐานของช่องสัญญาณในระบบ ISDN ช่องใดใช้ในการรับส่งข้อมูล
    1. ช่องสัญญาณ B 2. ช่องสัญญาณ C
    3. ช่องสัญญาณ D 4. ช่องสัญญาณ E
    4. มาตรฐานช่องสัญญาณในระบบ ISDN ช่องใดใช้ในการติดต่อ, ค้นหา, ยกเลิกการติดต่อ
    1. ช่องสัญญาณ B 2. ช่องสัญญาณ C
    3. ช่องสัญญาณ D 4. ช่องสัญญาณ E
    5. มาตรฐานของดิจิตอลบิตไปป์ แบบไพรมารีเรต (primary rate) คือแบบใด
    1. 23 B + D 2. 30 B + D
    3. 36 B + D 4. ถูกทั้ง 1 และ 2

X.25

:: บทนำ ::

X.25 เป็นมาตรฐานการติดต่อที่ยอมรับกันระหว่างประเทศซึ่ง (ITU-T) เป็นส่วนหนึ่งของระบบโดยเป็นมาตรฐานในระดับท้องถิ่นและอธิบายได้ถึงการ ติดต่ออย่างไรระหว่างตัวผู้ใช้ และอุปกรณ์ที่ใช้รวมทั้งการติดตั้ง. X.25 เป็นระบบที่ถูกออกแบบมาให้ใช้ได้ผลดีโดยไม่คำนึงระบบการติดต่อกับเน๊ตเวิค. ดังนั้นมันจึงถูกใช้ในเน๊ตเวิคแบบ packet-switched (PSNs)โดยมีแคร์เรียเป็นหลัก อย่างเช่นบริษัทโทรศัพท์ต่างๆ. ผู้ใช้บริการจะถูกคิดเงินในราคาที่เป็นพื้นฐานเท่าที่ใช้จริง. มาตรฐานของรูปแบบ X.25 จะอยู่ในรูปแบบของแคร์เรียมาตั้งแต่ปี 1970. ซึ่งในเวลานั้น,ยังมีความต้องการระบบสื่อสารในระดับท้องถิ่นอยู่(WAN)จึง ต้องมีการเตรียมการให้ระบบสามารถรองรับได้กับระบบ data networks(PDNs). X.25 คือตอนนี้ยังถูกดำเนินการโดย ITU-T ให้เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศ.

:: อุปกรณ์ X.25 และระบบ โปรโตคอล ::

ระบบ X.25 ประกอบไปด้วย 3ส่วนคือ Data terminal equipment(DTE),Data circuit-terminating(DCE),และ packet-switching exchange(PSE) . Data terminal equipment คือส่วนท้ายสุดของระบบการติดต่อ X.25 โดยปกติได้แก่ Terminal,PC,หรือ host ของnetwork และตำแหน่งของผู้รับบริการ.DCE เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดต่ออย่างเช่น Modem และ Packet switches ซึ่งนั้นเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมโยงระหว่าง DTE และ PSE และยังเป็นตำแหน่งในการสร้างแคร์เรียด้วย.PSEs เป็นสวิตช์ที่ประกอบด้วยแคร์เรียเน็ตเวิคขนาดใหญ่.โดยใช้ส่งข้อมูลจาก DTE หนึ่งไปยังตัวอื่นๆด้วย X.25 ดังรูปที่17-1 เป็นส่วนประกอบทั้ง3 ประเภทของระบบ X.25
Figure 17-1: DTEs, DCEs, and PSEs Make Up an X.25 Network

:: Packet Assembler/Disassembler ::

Packet Assembler/Disassembler (PAD) เป็นส่วนที่พบได้ในระบบเน็ตเวิค X.25. PADs ถูกใช้เมื่ออุปกรณ์ DTE เป็นแบบ character-mode ซึ่งเป็นตัวอย่างที่สนับสนุนการทำงานของ X.25 อย่างเต็มระบบ. PAD เป็นตำแหน่งหนึ่งที่อยู่ระหว่างอุปกรณ์ DTE และอุปกรณ์ DCE และมันมีฟังก์ชั่นการทำงานหลัก 3 อย่างคือ buffer (ตัวที่คอยสำรองข้อมูลจนอุปกรณ์พร้อมที่จะทำงาน),Packet Assembly และ Packet Disassembly. PAD buffer Data นั้นจะส่งหรือรับข้อมูล จากอุปกรณ์ของ DTE ซึ่ง PAD buffer จะนำส่วนของข้อมูลไปใส่ไว้ใน Packet ก่อนที่จะทำการส่งไปที่ DTE (โดยจะตัดส่วนของ Header ของ X.25 ออก) จากรูปที่ 17-2 เป็นกระบวนการพื้นฐานของ PAD เมื่อได้รับ Packet จากเครือข่ายแบบท้องถิ่น X.25

Figure 17-2: The PAD Buffers, Assembles, and Disassembles Data Packets

:: ข้อตกลงของการติดตั้ง X.25 ::

ข้อตกลงในการติดตั้ง X.25 เมื่ออุปกรณ์ DTE หนึ่งตัวจะทำการติดต่อกับตัวอื่นโดยจะทำการร้องขอต่อส่วนสื่อสาร. โดยอุปกรณ์ DTE จะได้รับการตอบรับข้อตกลงหรือยกเลิกจากการขอเชื่อมโยง.ถ้าการตอบรับเป็นการตกลง ระบบของทั้งสองจะส่งข้อมูลเป็นแบบ Full Duplex.

:: วงจร X.25 ในอุดมคติ ::

วงจร ในอุดมคติจะเป็นการเชื่อมโยงแบบโลจิกซึ่งจะทำให้อุปกรณ์ทั้ง 2 มีความเสถียร. วงจรในอุดมคติจะไม่ระบุตำแหน่งของสัญญาณโลจิก,เส้นทางการไหลของสัญญาณจาก DTE หนึ่งไปยังตัวอื่นๆโดยผ่านระบบ X.25 . ด้านกายภาพ,การเชื่อมต่อสามารถทำได้โดยผ่านNode ที่อยู่ระหว่างทาง เช่น อุปกรณ์ DCE และ PSEs. วงจรแบบมัลติเปิลชนิดธรรมดา(การเชื่อมต่อทางโลจิก) สามารถเชื่อมต่อหลายๆวงจรให้ไปยังวงจรแบบซิงเกิล(การเชื่อมต่อทางโลจิก)ได้. และก็ทำการแยกออกมาเป็นหลายๆวงจรเมื่อข้อมูลถึงปลายทาง ดังรูปที่ 17-3 สัญญาณทั้ง 4 แชนแนลสามารถนำเข้ามาไว้ยังวงจร แชนแนลเดียวได้

Figure 17-3: Virtual Circuits Can Be Multiplexed onto a Single Physical Circuit
ชนิดของวงจร x.25 ในอุดมคติ คือ switched และ permanent. วงจร switched (SVCs)เป็นการเชื่อมต่อชั่วคราวใช้สำหรับถ่ายข้อมูลเป็นช่วงๆ ซึ่งวงจรที่ใช้ switched ได้แก่วงจร DTE ที่มี 2แหล่ง, maintain และTerminate โดยอุปกรณ์แต่ละอย่างจำเป็นต้องใช้เพื่อการสื่อสารกัน. วงจร permanent (PVCs) เป็นการเชื่อมต่อแบบถาวรใช้สำหรับถ่ายข้อมูลที่การถ่ายโอนการบ่อยๆ ตัวPVCs ไม่ต้องการตัวสร้างและตัว Terminate.ดังนั้นทำให้ตัว DTEทั้งหลายสามารถที่เริ่มทำการส่งข้อมูลเมื่อมีการร้องขอเพราะตัวสร้าง ทำงานตลอดเวลา
การทำงานพื้นฐานของวงจร X.25 ในอุดมคติจะเริ่มเมื่ออุปกรณ์ DTE จำเพาะต้องการใช้(ในหัวข้อpacket)และมีการส่งpacket ไปยังอุปกรณ์ DCE และในตรงจุดนั้นเองอุปกรณ์ DCE จะตรวจสอบ header packet และแจกแจงpacket โดยเลือกวงจรในอุดมคติที่จะใช้ และเมื่อส่ง packet แล้วจะปิด PSE ในเส้นทางของวงจรในอุดมคติไปด้วย. PSEs(switches)จะทำการขนถ่ายไปยังnode อื่นที่อยู่ในระหว่างทางโดยจะเลือก switches หรือเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ DCE.
เมื่อมีการขนถ่ายโดยมีการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ DCE ,ที่ส่วนหัวของpacket จะมีการตรวจสอบและหาตำแหล่งปลายทางส่วนตัวpacket จะถูกส่งไปยัง DTE ปลายทาง.ถ้ามีการสื่อสารที่มากเกินตัว SVC และอุปกรณ์ใกล้เคียงจะเพิ่มข้อมูลในการส่งเข้าไปในวงจร

: โครงร่างส่วนประกอบของโปรโตคอล X.25 ::

ผัง ของ โปรโตคอล X.25 จาก 3 เลเยอร์ล่างสุดของโมดูล OSI ชนิดของเลเยอร์ที่ใช้ใน X.25 ประกอบด้วย Packet-Layer protocol(PLP),Link access Procedure,Balanced(LAPB)และการติดต่อแบบอนุกรมอื่นๆเช่น(EIA/TIA-232,EIA /TIA-449,EIA 530 และG.703)จากรูปที่ 17-4 ผังการสื่อสารของ โปรโตคอล X.25 ที่อยู่ใน ส่วนของโมดูล OSI

Figure 17-4: Key X.25 Protocols Map to the Three Lower Layers of the OSI Reference Model

:: แพ็คเจตและ เลเยอร์โปรโตคอล ::

PLP ในระบบเลเยอร์เน็ตเวิค X.25 ตัว PLP จะเป็นตัวควบคุมแลกเปลี่ยนpacket ระหว่างอุปกรณ์ DTE กับวงจรในอุดมคติ. ตัวPLP สามารถทำงานได้สูงกว่าระดับ Logical link control 2(LLC2) อันได้แก่ ระบบ Lan และ ISDN โดยทำงานในระดับ Link Access Procedure on the D channel (LAPD)
การทำงานของ PLP มีการทำงาน 5 ลักษณ์ คือ call setup,data transfer,idle,call clearing,และ restarting
Call setup mode จะใช้กันระหว่าง SVCs กับอุปกรณ์ DTE. ตัว PLP จะใช้ใน ตำแหน่งX.121 ในการ ติดตั้งวงจร.ตัว PLP จะทำงานในวงจรพื้นฐานโดยจะเลือกวงจรหลักหนึ่งวงจรที่ใช้ในการเรียก call setup mode ส่วนตัวอื่นจะเป็น data transfer mode. ในวิธีนี้จะใช้กับ SVCs เท่านั้นไม่รวม PVCs.ata transfer mode ใช้สำหรับถ่ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ DTE 2 ตัวผ่านวงจรในอุดมคติ.ซึ่งในโหมดนี้ PLP ได้แบ่งเครื่องมือและตัวควบคุมออกเป็น bit padding , error และ flow control ในวิธีนี้จะทำงานในวงจรพื้นฐานและใช้ได้ทั้ง PVCs และSVCs Idle mode ถูกใช้เมื่อวงจรในอุดมคติเป็นแหล่งจ่ายแต่ข้อมูลไม่มีซึ่งมันจะทำงานในลักษณะวงจรพื้นฐานและให้บริการเฉพาะ SVCs เท่านั้น
Call clearing mode ใช้ในตอนท้ายของการติดต่อระหว่าง ระหว่างอุปกรณ์ DTE และ Terminate SVCs. ในโหมดนี้จะทำงานบนวงจรพื้นฐานและใช้ได้เพียง SVCs เท่านั้น
Restarting mode ใช้ในถ่ายโอนข้อมูลที่สัมพันธ์กันระหว่าง อุปกรณ์ DTE และ อุปกรณ์ติดต่อ DCE ในโหมดนี้จะไม่ทำงานในลักษณะวงจรพื้นฐาน ซึ่งจะมีผลกระทบต่ออุปกรณ์ DTE ทั้งหมดที่เป็นแหล่งของวงจรในอุดมคติ

:: PLP packet ทั้ง 4 ประเภทได้แก่ ::

General Format Identifier(GFI) เป็นพารามิเตอร์ของpacket เฉพาะ เช่น พาหะของpacket ที่ใช้ในข้อมูลหรือ ข้อมูลการควบคุม ชนิดของส่วนต่างๆ,หน้าต่างที่ใช้งานเป็นชนิดอะไรและการยอมรับตามความต้องการ.
Logical Channel Identifier(LCI) เป็นวงจรเฉพาะระหว่างการ Interface DTE/DCE
Packet Type Identifer(PTI) เป็นแพ็คเก็ตเฉพาะเป็น 1ใน 17 ผลต่างชนิดของ PLP packet.
User Data บรรจุด้วยส่วนตอนบนของที่พักข้อมูล.ที่ฟิลด์นี้จะนำเสนอข้อมูลในแพ็คเก็ต เพียงอย่างเดียว.หรืออีกนัยหนึ่งจะเพิ่มฟิลด์ข้อมูลควบคุมเข้าไปด้วย.

:: การดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูล, การเปรียบเทียบข้อมูล ::

LAPB เป็นข้อมูลเชื่อมต่อโปรโตคอลให้บริหารการติดต่อและรูปแบบแพ็คเก็ตระหว่าง อุปกรณ์ DTEและ DCE. LAPB เป็น bit-oriented โปรโตคอล ซึ่งเฟรมนั้นจะถูกต้องตามต้องการและไม่มีข้อมูลผิดพลาดแน่นอน.
เฟรม LAPB ทั้ง 3ชนิดประกอบด้วย ข้อมูล,ส่วนตรวจสอบ,ส่วนไม่นับ. เฟรมข้อมูล(I-FRAME) จะพาข้อมูลส่วนบนของเลเยอร์และข้อมูลควบคุมบ่างส่วน. ฟังก์ชั่น I-FRAME ประกอบด้วย ซีเควียนติง,ชาร์ตควบคุม,และส่วนหาและตรวจสอบข้อผิดพลาด. I-FRAME จะส่งพาหะและรับเลขลำดับ.เฟรมตรวจสอบ(S-FRAME)จะพาข้อมูลควบคุม.ฟังก์ชั่น S-FRAME ประกอบด้วยส่งความต้องการและส่วนส่งพักตำแหน่ง,รายงานสถานะและรับรู้จาก I-FRAME . S-FRAME จะพาเฉพาะส่วนรับลำดับหมายเลข.ส่วนไม่นับ (U-FRAME)จะพาข้อมูลส่วนควบคุม. ฟังก์ชั่น U-FRAME ประกอบด้วยส่วนติดตั้งเชื่อมโยงและตัดการติดต่อ คล้ายๆตัวรายงานข้อมูล ERROR . U-FRAME จะพาเฉพาะหมายเลขที่ไม่เป็นลำดับ.

:: บทสรุป ::

X.25 เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของ ITU-T ซึ่งอธิบายถึงการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ผู้ใช้และอุปกรณ์เครือข่ายทั้งที่ เป็นที่ตั้งและแหล่ง,และผลของการทำงานของระบบแต่ละชนิดในการติดต่อกับ เครื่อข่าย. อุปกรณ์ X.25 ประกอบด้วย DTEs,DCEs,และ PSNs. X.25 เชื่อมต่อทั้งแบบ SVCs และ PVCs ภายในรูปของวงจร. X.25 ที่ใช้มี 3โปรโตคอล.จากผังเลเยอร์ล่างทั้ง3จากโมเดล OSI:
- PLP , เป็นผังของเลเยอร์เครื่อข่าย
- LAPB, เป็นผังเชื่อมโยงเลเยอร์ข้อมูล
- X.21bits,EIA/TIA-232,EIA/TIA-449,EIA-530,และG703 เป็นผังของเลเยอร์ทางวงจร


:: Quiz ::

Q โดยปกติ X.25ทำงานในระบบเครือข่ายประเภทใด ?
A ปกติจะใช้ในระบบ packet-switched โดยมีพาหะร่วมอยู่ด้วย เช่น บริษัทโทรศัพท์ทั่วๆ ไป
Q ชื่อของอุปกรณ์ทั้ง 3 ประเภทที่ใช้ใน X.25 คือ ?
A DTEs,DCEs,และ PSEs.
Q ฟังก์ชั่นหลักทั้ง 3 ของ PAD มีอะไรบ้าง?
A Buffering,Packet assembly และ packet disassembly.
Q ชื่อของโปรโตคอล X.25 โดยอ้างจากเลเยอร์ในโมเดล OSI มีอะไรบ้าง?
A PLP:เลเยอร์เครือข่าย;LAPB:เลเยอร์การเชื่อมข้อมูล;X.21bis,EIA/TIA-232,EIA/TIA-449,EIA-530,และG703:เลเยอร์ทางวงจร.

วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

โปรแกรมที่อยู่ในความดูแลของ BSA


Adobe

Agilent Technologies

Altium

Apple

Autodesk

AVG

Bentley Systems

CA

Cadence Design Systems

Cisco Systems

Corel

Cyberlink

Dassault Systèmes SolidWorks Corporation

Dell

Embarcadero

Frontline PCB Solutions

HP

IBM

Intel

Intuit

McAfee

Microsoft

Mindjet

Minitab

NedGraphics

PTC

Quark

Quest

Rosetta Stone

SAP

Sheba Distribution

Siemens PLM Software, Inc.

Sybase

Symantec

Synopsys

Tekla

Thai Software

The MathWorks

กฏหมายลิขสิทธิ์ หรือ สิทธิบัตร

ลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร
ทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property) ซึ่งหมายถึงสิทธิทางกฎหมายที่มีอยู่เหนือผลิตผลจาก ความคิดทางปัญญาของบุคคล มีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงโดยตลอดควบคู่ไปกับการเปลี่ยนของพัฒนาการ ของเทคโนโลยี
เหตุผลสำคัญของการที่รัฐคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ก็เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ โดยใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเครื่องมือส่งเสริมการประดิษฐ์คิดค้น และส่งเสริมการจัดระเบียบการแข่งขันใน ตลาดการค้า
ผลงานทางปัญญาใดจะได้รับการคุ้มครองย่อมขึ้นอยู่กับคุณค่าของผลงานนั้นเป็นสำคัญ ซึ่งก็ หมายความว่า ผู้ที่พัฒนาหรือสร้างสรรค์งานไม่อาจอ้างสิทธิทางกฎหมายในผลงานทางปัญญาของตนได้ในทุก กรณี สิ่งที่จะได้รับการคุ้มครองจะต้องมีคุณสมบัติต้องตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ผลงานทางปัญญาที่ขาด คุณสมบัติจะไม่ตกเป็นสิทธิของผู้สร้างสรรค์ หากแต่เป็นความรู้สาธารณะ (knowledge in the public domain) ที่บุคคลใดๆ อาจนำไปใช้ได้โดยไม่ถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย หรือเป็นการผิดต่อศีลธรรม กฎหมาย ไม่คุ้มครองผลงานที่ขาดคุณสมบัติ ทั้งนี้โดยไม่คำนึงว่าผู้สร้างสรรค์ได้ลงทุนหรือลงแรงไปกับผลงานนั้นมาก น้อยเพียงใด
สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอาจจำแนกออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ
สิทธิในทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (industrial property rights) และ
ลิขสิทธิ์ (copyright)


ความแตกต่างระหว่างสิทธิบัตรกับลิขสิทธิ์
กฎหมายสิทธิบัตรให้การคุ้มครองเทคโนโลยีการประดิษฐ์ แต่กฎหมายของประเทศกำลังพัฒนาบาง ประเทศ รวมทั้งกฎหมายไทย มิได้คุ้มครองเฉพาะการประดิษฐ์เท่านั้น หากแต่คุ้มครองการออกแบบทาง อุตสาหกรรม (industrial designs) ภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรด้วย ซึ่งการคุ้มครองในลักษณะนี้แตกต่างกับ กฎหมายของบรรดาประเทศอุตสาหกรรม ที่แยกการคุ้มครองการออกแบบทางอุตสาหกรรมไปไว้ภายใต้ กฎหมายอีกระบบหนึ่ง

ในขณะที่กฎหมายสิทธิบัตรคุ้มครองความคิด (idea) ที่อยู่ภายใต้การประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ กฎหมายลิขสิทธิ์ให้การคุ้มครองสำหรับการแสดงออกซึ่งความคิด (expression of idea) โดยมิได้คุ้มครองตัวความคิดโดยตรง ลิขสิทธิ์จะมีอยู่ในงานประเภทที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น เช่น งานวรรณกรรมนาฎกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ


สิทธิบัตรจะให้สิทธิที่จะกีดกันบุคคลอื่นมิให้ใช้ประโยชน์จากการประดิษฐ์ หรือแบบผลิตภัณฑ์ตาม สิทธิบัตร ซึ่งเท่ากับว่าผู้ทรงสิทธิเป็นผู้มีสิทธิผูกขาดโดยสมบูรณ์ (absolute monopoly right) ที่ปกป้องผู้ทรง สิทธิจากการแข่งขันของบุคคลอื่น ทั้งนี้โดยไม่คำนึงว่าผู้กระทำละเมิดมีเจตนาที่จะลอกเลียนการประดิษฐ์ตาม สิทธิบัตรหรือไม่ ตัวอย่างเช่น นาย ก. ได้ขอรับสิทธิบัตรในการประดิษฐ์อันหนึ่งไว้ ต่อมา นาย ข. ได้คิดค้น การประดิษฐ์แบบเดียวกันได้ โดยนาย ข. ได้คิดค้นการประดิษฐ์นั้นด้วยตนเอง เช่นนี้ นาย ข. อาจถูกนาย ก. ซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรห้ามมิให้ใช้ประโยชน์จากการประดิษฐ์ของตนได้ ถึงแม้ว่านาย ข. จะไม่ได้ลอกเลียนการ ประดิษฐ์ของนาย ก. ก็ตาม

สิทธิตามสิทธิบัตรจะเกิดขึ้นเมื่อมีการขอรับสิทธิจากรัฐ โดยต้องมีการทำเอกสารคำขอตามแบบที่กฎหมายกำหนด และเจ้าหน้าที่ของรัฐจะทำการตรวจสอบคำขอและคุณสมบัติการประดิษฐ์ว่ามีความถูกต้องครบถ้วน จึงจะออกสิทธิบัตรให้ ส่วนผู้สร้างสรรค์งานประเภทที่กฎหมายกำหนดไว้ จะได้ไปซึ่งลิขสิทธิ์ในงานนั้นโดยทันที โดยผู้สร้างสรรค์ไม่จำต้องนำงานไปจดทะเบียนหรือขอรับความคุ้มครองจากรัฐ ทั้งนี้เป็นไปตามหลักการของอนุสัญญากรุงเบอร์นว่าด้วยการคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม (Berne Convention for theProtection of Literary and Artistic Works) ที่ห้ามการกำหนดเงื่อนไขของการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดๆ1

linux Basic Command

cd [directory]
cd หรือ change director ใครคุ้นเคยกะ dos คงจะคุ้นเคยกะคำสั่งนี้
คำสั่งนี้เอาไว้ย้ายที่อยู่ของคุณไปยัง directory ที่คุณต้องการ เช่นหลังจาก log in เข้าสู่ระบบแล้ว (สมมุติอยู่ใน /home/user1 และกันนะ) และอยากจะย้ายที่อยู่ไปยัง directory อื่นทำได้โดยการใช้คำสั่งนี้แหละ อย่างเช่น cd /etc เพื่อ ไปยัง /etc หรือ cd .. เพื่อย้ายไปยัง directory ก่อนหน้า (ถ้าคุณอยู่ใน /home/user1 คุณจะย้ายออกมาอยู่ที่ /home)

mkdir [directory]
สำหรับสร้าง directory ขึ้นมาใหม่ อย่างเช่นต้องการสร้าง directory สำหรับเก็บเอกสารทำได้โดยการพิมพ์ mkdir Docs (สร้าง directory ชื่อ Docs ขึ้นมา) จะสร้าง directory ที่ไหนได้ หมายความว่าคุณต้องมีสิทธิ์ในการสร้างใน directory นั้นๆ ด้วยนะ
useradd -D เปลี่ยนค่า Default ของคำสั่ง

mdir [directory]
หลังจากสร้างแล้วไม่เป็นที่พอใจ ลบได้โดยใช้คำสั่งนี้ อย่างเช่น rmdir Docs (ลบ directory ชื่อ Docs) ปกติ rmdir จะลบได้เฉพาะ directory ที่ไม่มีอะไรอยู่ข้างใน ถ้าคุณต้องการลบ directory ที่มี file หรือ directory อื่นอยู่ในนั้นใช้คำสั่ง rm -r [directory]

rm [file]
rm ใช้สำหรับลบ file ถ้าต้องการลบ file ชื่อ readme.txt ใช้คำสั่งนี้ rm readme.txt ถ้าต้องการลบ directory ที่มีหรือไม่มี file อยู่ข้างในใช้ rm -r [file or directory] อาจจะสงสัยแล้วทำไมต้องมี rmdir คิดว่าเค้าเอาไว้ป้องกันความผิดพลาดหรือเผลอเลอของผู้ใช้ เท่านั้นเอง ว่าจริงๆ แล้วคุณต้องการลบ file หรือ directory กันแน่

pwd
แสดง path ปัจจุบันที่คุณอยู่

ls
แสดงรายชื่อ file ใน directory ถ้า ls -l จะแสดงแบบยาว หรือถ้าต้องการแสดง file ที่ซ่อนอยู่ (พวก file ที่ขึ้นต้นด้วย . ) ใช้คำสั่ง ls -a หรือ ls -la ก็ได้ตามชอบใจ จะว่าไปก็เหมือนกับ dir ใน dos นั่นแหละ ถ้าต้องการแสดงเฉพาะ file ที่มีนามสกุลเป็น .txt ก็ พิมพ์ ls *.txt

mv [file1] [file2]
ย้ายมันไปที่อื่น หรือเปลี่ยนชื่อมัน (มันที่ว่าคือ file หรือ directory นั่นเอง)

cp [file1] [file2]
copy มัน ถ้าต้องการ copy ทั้ง directory ใช้ cp -r [dir1] [dir2]

cat [file]
แสดงข้อมูลใน file ออกทางจอภาพ อยากรู้ว่าใน file นั้นมีข้อมูลอะไรอยู่ โดยไม่ต้องเปิด file ใช้คำสั่งนี้ อย่างเช่น cat /etc/passwd

more [file]
แสดงทีละบรรทัด ถ้า file มันยาวมากเกินหน้าจอ ใช้ cat อาจจะไม่สะดวก เพราะอาจจะมองไม่ทัน ก็ใช้ more แทน เลื่อนดูข้อมูลหน้าถัดไปโดยการเคาะ space bar

less [file]
เหมือน more คงเขียนขึ้นมาเพื่อเพิ่มความสามารถของ more เอง เพราะ more มันดูได้แต่หน้าถัดไป แต่ less สามารถเลื่อนกลับไปดูข้อมูลก่อนหน้าได้ โดย space bar เป็นการเลื่อนดูหน้าถัดไป และ b เป็นการเลื่อนดูหน้าก่อนหน้า ถ้าต้องการเลื่อนไปทีละครึ่งหน้า ใช้ d ถ้าเลื่อนกลับครึ่งหน้าก็ใช้ u รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้จากคำสั่ง less --help

คำสั่งพื้นฐานสำหรับ Linux (ตอน 2)
การใช้งานLinux จะ มีคำสั่งที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่ต้องรู้และเป็นคำสั่งที่เพิ่มเติมเข้ามาอีกจากตอนที่ 1 เป็นการแนะนำคนที่จะหันมาลองใช้ OS ตัวนี้กันดู ขอให้ทำความเข้าใจ และอดทนกันหน่อยนะ

คำสั่งเกี่ยวกับ File
cd [directory]
ย่อมาจาก change directory เป็นคำสั่งเดียวกันกับ dos แต่ ที่ต่างกันนิดหนึ่งคือ ใน dos การเขียนชื่อ directory จะเป็น test แต่ถ้าใน unix จะเป็น /test ถ้าต้องการไป directory test ก็พิมพ์ cd test หรือถ้าพิมพ์ cd เฉยๆ แล้วเคาะ Enter จะเป็นการเปลี่ยน directory ไปที่ home directory ของผู้ใช้ สำหรับ directory ใน unix นั้นไม่เหมือนใน dos unix ไม่มี disk lable เช่น c: หรือ d: directory ที่อยู่บน สุดของ unix เรียกว่า root directory เขียนสั้นๆว่า / โครงสร้าง directory จะประกอบด้วย /bin, /usr/bin เก็บ คำสั่งใช้งานทั่วไป /sbin, /usr/sbin ใช้เก็บคำสั่ง ของ admin ทั้ง /bin, /usr/bin/, /sbin, /usr/sbin มักใช้เก็บโปรแกรมที่มาพร้อมกับ CD และติดตั้งลงในเครื่องตอนลง Linux (อีกนิดหนึ่ง bin หมายถึง directory นั้นเก็บ binary file สำหรับ sbin หมายถึง directory นั้นเก็บ sytem binary คือเป็นคำสั่งสำหรับผู้ดูแลระบบเท่านั้น) /etc ไว้เก็บ configuration ต่างๆของระบบ /var ใช้เก็บข้อมูลของโปรแกรม รวมทั้ง log ของระบบ สำหรับโปรแกรมที่เรา compile และติดตั้งเองมักจะอยู่ใน directory ชื่อ /usr/local และท้ายสุด คือ home directory /home ใช้เก็บข้อมูลของผู้ใช้ในระบบ เช่นถ้าสร้าง ผู้ใช้ชื่อ joy ระบบก็จะสร้าง directory ชื่อ /home/joy ให้โดยอัตโนมัติ

mv [ชื่อ file ต้นทาง] [ชื่อ file ปลายทาง]
ตรงกับคำสั่ง ren หรือ rename ใน dos แต่ทำงานได้มากกว่า mv ย่อมาจาก move ตัวอย่างการใช้งาน mv test test2 จะเป็นการเปลี่ยนชื่อ file จาก test ไปเป็น test2 หรือ mv /test /test2 จะเป็นการเปลี่ยนชื่อ directory จาก test ไปเป็น test2 และ mv /test /temp/ โดยที่ temp เป็น directory ที่มีอยู่แล้วจะเท่ากับเป็นการย้าย /test ไปเป็น directory ย่อยของ /temp (/temp/test

ls
คำสั่งนี้ใช้แสดงรายชื่อ file ใน directory (หรือ Folder ) ตรงกับคำสั่ง Dos ที่ชื่อ Dir มี option บางทีก็เรียกว่า argument ที่สำคัญได้แก่ -l ให้แสดงรายละเอียดของ file, -a แสดง file ทั้งหมดรวมทั้ง hidden file ซึ่งจริงๆ แล้วก็คือ file ที่มีชื่อขึ้นต้นด้วย . เช่น .profile
ตัวอย่างเช่น ls -l man* หรือ ls -l -a man * หรือ ls -la man* การใช้ wildcard เช่น * ส่วนใหญ่ก็คล้ายกับ windows หรือ dos แต่ที่เด็ดกว่านั้นคือ เราสามารถใช้ wildcard กับ Directory ด้วยเช่น ls /usr/local/apach*/ht* ก็สามารถแสดง file ที่เก็บใน directory/usr/local/apache/htdocs แต่ถ้าใน /usr/local/apache มี directory /htdocs กับ httpd แล้วละก็ เฉพาะ file ใน htdocs จะถูกแสดงเท่านั้นคำสั่งนี้เป็นคำย่อของ List

rm [file]
คำสั่ง ลบ file เหมือนคำสั่ง del ใน dos สามารถใช้ wildcard ได้เช่นเดียวกับ ls และมี option เดียวที่คือ -r ซึ่งเมื่อใช้คำสั่ง rm -r /usr/src/temp หมายความว่า ให้ลบ file และ directory ย่อยทั้งหมดที่อยู่ภายใน directory /usr/src/temp rm ย่อมาจาก remove

pwd
กรณีที่เรา เปลี่ยน directory ไปมาจนสับสนจำไม่ได้ว่าตอนนี้ตัวเองอยู่ใน directory ใด ให้ใช้คำสั่ง pwd เพื่อดูว่าเราอยู่ใน directory ใด pwd ย่อมาจาก pop หรือ print working directory

chmod
คล้ายกับคำสั่ง Attrib ของ Dos เป็นการเปลี่ยน mode การใช้งานของ file คือปกติ file ใน unix จะมี mode การใช้งาน และสิทธิในการใช้งานอยู่กับ file
โดยเราสามารถเรียกดู mode การใช้งานได้จากคำสั่ง ls -l ตัวอย่างเช่น#ls -l /etc/host.conf
# -rwxr--r-- root.daemon host.conf ..
ตรง -rwxr--r-- เป็นตัวที่บอกสิทธิการใช้ file โดยสังเกตว่า -[rwx][r--][r--] นั้นประกอบด้วยตัวอักษร 10 ตัว 1 ตัวแรกบอกว่า เป็น file หรือ directory ถ้าเป็น file ใช้สัญลักณ์ - ถ้าเป็น directory จะถูกแทนด้วย D ดังนั้น /etc/host.conf จึงเป็น file สัญลักษณ์ 3 ตัวถัดมาจะเป็นการบอกว่า เจ้าของมีสิทธิในการใช้ file อย่างไร rwx ตัวแรกใน 3 ตัวนี้แทนสิทธิในการอ่านดู file ใช้สัญลักษ์ r แทน อ่านได้ และ - แทนไม่มีสิทธิอ่าน ตัวที่ 2 ระบุว่ามีสิทธิการเขียนหรือแก้ไข file หรือไม่ w แปลว่า แก้ไขได้ - แปลว่าแก้ไขไม่ได้ และตัวสุดท้ายแทนว่าสามารถรันคำสั่งนี้ได้หรือไม่ (run หรือ execute) x แปลว่า execute หรือ run คำสั่ง /etc/host.conf ได้และ - แทนไม่ได้
สัญลักษณ์ 3 ตัวถัดมาแทนสิทธิของผู้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับเจ้าของ file การอ่านค่าก็เหมือนที่อธิบายไปแล้ว
สัญลักษณ์ 3 ตัวสุดท้ายแทนสิทธิการใช้ file ของคนทั่วไป ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม
ตัวอย่างที่เห็นบอกว่า /etc/host.conf สามารถอ่านเขียนและ run ได้โดยเจ้าของ และคนในกลุ่มเดียวกันกับเจ้าของและคนอื่นสามารถอ่านได้ ไม่สามารถแก้ไข หรือ run คำสั่งได้

mkdir [ ชื่อ directory]
คำสั่งนี้เข้าใจง่ายเป็นคำสั่งสร้าง directory ซึ่งตรงกับคำสั่ง md ของ dos

rmdir [ชื่อ directory]
คำสั่งนี้เข้าใจง่ายเป็นคำสั่งลบ directory ซึ่งตรงกับคำสั่ง rd ของ dos

cat [file]
แสดงข้อมูลใน file ออกทางจอภาพ อยากรู้ว่าใน file นั้นมีข้อมูลอะไรอยู่ โดยไม่ต้องเปิด file ใช้คำสั่งนี้ อย่างเช่น cat /etc/passwd หากต้องการจะออกจากคำสั่ง cat ให้กดปุ่ม Ctrl-d ซึ่งจะหมายถึง การส่งสัญลักษณ์ end-of-file (EOF) ไปให้กับคำสั่ง z

vi
ใช้ในการแก้ไข file โปรแกรมนี้ใช้งานยาก และคงต้องไปอ่านคู่มือเอาเอง แต่หลักๆ ก็คือ ปกติเมื่อจะใช้งานให้ พิมพ์ vi ตามด้วยชื่อ file เช่น vi test เป็นต้น ปกติเมื่อเรียกโปรแกรมเสร็จแล้วเราจะยังไม่สามารถป้อนข้อมูลหรือพิมพ์ได้ เราเรียกสถานะการณ์นี้เรียกว่า command mode เราต้องกดปุ่ม i (ตัวอักษร i) เพื่อจะเข้าสู่ Edit mode ซึ่งเราจะสามารถพิมพ์ตัวอักษรได้ และเมื่อพิมพ์จนสาแก่ใจแล้ว ก็ให้กดปุ่ม esc เพื่อกับเข้าสู่ command mode และ พิมพ์ : (semicolon) ตามด้วย w เพื่อ บันทึกข้อมูล (:w) หรือ :wq เพื่อบันทึกข้อมูลและออกจากโปรแกรม หรือ :q! เพื่อออกจากโปรแกรมโดยไม่บันทึกข้อมูล vi ย่อมาจาก visual editor

cp [file source] [file destination]
เป็นคำสั่ง copy ของ dos นั้นเอง แต่มี option หนึ่งที่ใช้ประจำคือ -R ซึ่งจะทำให้โปรแกรม cp ทำงานได้เหมือน Xcopy ตัวอย่างการใช้งานเช่น cp test1 test2 เป็นการ copy เนื้อหาของ file test1 ไปใส่ใน file test2 หรือ สมมติว่าใน directory /usr ประกอบด้วย directory ย่อยคือ temp local src เมื่อเราออกคำสั่ง cp -R /usr /var จะเท่ากับ copy เนื้อหาใน direcotry ทั้งหมดไปเก็บไว้ใน directory var รวมทั้ง copy directory ย่อย temp local src และเนื้อหาของมันไปเก็บไว้ใน directory /var เป็นต้น cp ย่อมาจาก copy

chown
คำสั่งเปลี่ยนเจ้าของ file ตัวอย่าง เมื่อเราออกคำสั่ง ls -l /etc/host.conf
# -rwxr--r-- root.daemon host.conf ..
ตรงที่เขียนว่า root.daemon เป็นการบอกให้รู้ว่า file มีเจ้าของคือ root ซึ่งอยู่ใน group daemon
ถ้าเราจะเปลี่ยนเจ้าของเราก็พิมพ์ chown admin.adm /etc/host.conf ก็จะเป็นการเปลี่ยนเจ้าของ file จาก root กลุ่ม daemon เป็น admin จากกลุ่ม adm
option ที่สำคัญของ chmod ที่ใช้บ่อยก็คือ -R ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนเจ้าของ file ทั้ง directory รวมถึง subdirectory ของมัน เช่น
#chown -R postfix.mail /etc/postfix

less
เป็นคำสั่งในการดูเนื้อหาใน file ซึ่งสามารถใช้ cursor เลื่อนขึ้น ลง เพื่อดูเนื้อหาใน file ได้ การใช้ พิมพ์ less ตามด้วย filename

more
เป็นคำสั่งที่ใช้ แสดงเนื้อหาใน file ต่างกับ less ตรงที่เลื่อนลงได้ เลื่อนขึ้นไม่ได้ การใช้งาน พิมพ์ more แล้วตามด้วยชื่อ file แต่ส่วนใหญ่ที่ผมใช้มักจะใช้คู่กับ คำสั่ง ls คือ เวลา file ใน directory มีมากกว่า 1 หน้าเราสามารถให้มันหลุดทีละหน้าได้
(เหมือนใช้คำสั่ง dir /w ) โดยใช้ คำสั่งเช่น
#ls /usr/bin more

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ลิขสิทธิ์ หรือ สิทธิบัตร

สิทธิบัตร (patent) หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในกฎหมาย กฎกระทรวง และระเบียบว่าด้วยสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบ เพื่อให้ได้สิ่งของ, เครื่องใช้หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การประดิษฐ์รถยนต์, โทรทัศน์, โทรศัพท์,คอมพิวเตอร์, หรือการออกแบบขวดบรรจุน้ำดื่ม, ขวดบรรจุน้ำอัดลม หรือการออกแบบลวดลายบนจานข้าว, ถ้วยกาแฟ ไม่ให้เหมือนของคนอื่น เป็นต้น
ความรู้เบื้องต้นกับสิทธิบัตร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา จึงมอบหมายให้สำนักงานจัดการทรัพย์สิน เป็นผู้อำนวยความสะดวก ให้กับคณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยฯ ในการให้คำปรึกษาและดำเนินการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะงานด้านสิทธิบัตรการประดิษฐ์
สิทธิบัตรให้สิทธิแก่นักประดิษฐ์ในการใช้ประโยชน์ของตนในเชิงพาณิชย์ โดยมีช่วงระยะเวลาที่แน่นอน โดยปกติมักกำหนดระยะเวลาคุ้มครองไว้ 20 ปี เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับสิทธินี้ นักประดิษฐ์ต้องเปิดเผยรายละเอียดสิ่งประดิษฐ์เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และประโยชน์สาธารณะ ถ้าปราศจากระบบสิทธิบัตร นักประดิษฐ์จะขาดแรงจูงใจในการคิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เนื่องจากสิ่งที่คิดค้นขึ้นจะถูกเลียนแบบอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ค่าตอบแทนที่ได้รับนั้นน้อยเกินไป สำหรับงานหนักที่นักประดิษฐ์ได้ลงแรงไป
การประดิษฐ์คิดค้นที่มีสิทธิจดสิทธิบัตรได้นั้น จะต้องเป็นสิ่ง/เรื่องใหม่ ไม่สามารถเห็นเด่นชัด และประยุกต์ใช้เชิงพาณิชย์ได้ และเช่นเดียวกับสิทธิทรัพย์สินทางปัญญารูปแบบอื่นๆ สิทธิบัตรเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคลประเภทหนึ่ง ที่สามารถมอบหมาย อนุญาตให้ใช้สิทธิ หรือเก็บค่าใช้สิทธิได้โดยผ่านการจำนอง

1. สิ่งประดิษฐ์ใดที่สามารถยื่นจดสิทธิบัตรได้
1.1 เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ คือ เป็นการประดิษฐ์ที่แตกต่างไปจากเดิม ยังไม่เคยมีใช้แพร่หลาย หรือจำหน่ายมาก่อนในประเทศ ยังไม่เคยได้รับสิทธิบัตรมาก่อน หากเคยยื่นขอรับสิทธิบัตรไว้ในต่างประเทศมาก่อนจะต้องยื่นคำขอในประเทศไทยไม่เกิน 18 เดือน นับแต่วันที่ได้ยื่นไว้ครั้งแรกในประเทศ
1..2 เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น คือ มีลักษณะที่เป็นการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคของสิ่งประดิษฐ์ประเภทเดียวกันที่มีมาก่อน หรือไม่เป็นการประดิษฐ์ที่อาจทำได้โดยง่ายต่อผู้ที่มีความรู้ในระดับธรรมดาในสาขาวิทชาการด้านนั้นๆ
1.3 เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม เกษตรกรรรม พาณิชยกรรม หรือหัตถกรรมได้
กรณีที่ผลงานของท่านเป็นลักษณะของการออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับ สิทธิบัตรได้ ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่ออุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม คือเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่มีใช้แพร่หลายในประเทศ ซึ่งรวมถึงการขายด้วย หรือยังไม่เคยเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ ก่อนวันขอรับสิทธบัตร หรือไม่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว

2. สิ่งที่จดสิทธิบัตรไม่ได้ ได้แก่
2.1 จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีตามธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสาร สกัดที่ได้จากสัตว์และพืช เหล่านี้ถือเป็นการค้นพบเท่านั้น แต่ในกรณีที่นำไปผสมกับสารหรือส่วนประกอบอื่น สามารถที่จะขอจดสิทธิบัตรได้
2.2 กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
2.3 ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้รับความ คุ้มครองในฐานะที่เป็นงานด้านวรรณกรรมตามกฎหมายลิขสิทธิ์อยู่แล้ว
2.4 วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์หรือสัตว์ เนื่องจากหากให้ความคุ้มครองไป อาจมีผลกระทบต่อชีวิต คนและสัตว์ได้
2.5 การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี อนามัยหรือสวัสดิภาพของประชาชน

3. เอกสารคำขอสิทธิบัตร ประกอบด้วย
3.1 แบบพิมพ์คำขอรับสิทธิบัตรและเอกสารประกอบคำขอ
3.2 รายละเอียดสิ่งประดิษฐ์
3.3 ข้อถือสิทธิ
3.4 บทสรุปการประดิษฐ์
3.5 รูปเขียน (ถ้ามี)


รายละเอียดการประดิษฐ์ จะประกอบด้วยหัวข้อย่อยต่างๆ ดังนี้

1. ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์
2. ลักษณะและความมุ่งหมายของการประดิษฐ์ - เป็นการอธิบายถึงจุดประสงค์ วิธีการ และลักษณะสำคัญ ของสิ่งประดิษฐ์นั้น
3. สาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ – ระบุว่าสิ่งประดิษฐ์นั้นจัดอยู่ในเทคโนโลยีประเภทใด หรือ อยู่ในศาสตร์แขนงใด
4. ภูมิหลังของวิทยาการที่เกี่ยวข้อง - เป็นการอ้างอิงเอกสารต่างๆ ที่แสดงถึงวิทยาการที่มีอยู่เดิม ตลอดจน ข้อบกพร่อง หรือปัญหาที่นำมาสู่การประดิษฐ์ที่กำลังขอรับสิทธิบัตรอยู่

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

ลิขสิทธิ์คืออะไร?
ลิขสิทธิ์คือการคุ้มครองทางกฎหมายที่ให้แก่การผลิตผลงานต้นฉบับในสหรัฐอเมริกา ลิขสิทธิ์คุ้มครองหนังสือ ภาพวาด รูปถ่าย ดนตรี วีดีโอ ซอฟต์แวร์ และอื่นๆ ลิขสิทธิ์จะอยู่ติดกับผลงานตั้งแต่ผลงานนั้นอยู่ในรูปที่จับต้องได้ (บนกระดาษ วีดีโอ และอื่น ๆ) และป้องกันคนอื่นเอาไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

ลิขสิทธิ์เป็นสิทธิต่าง ๆ ที่อยู่ด้วยกัน
ลิขสิทธิ์เป็นสิทธิต่าง ๆ ที่อยู่ด้วยกัน รวมไปถึงสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการจัดจำหน่าย ขาย ทำซ้ำ แสดงในที่สาธารณะและสร้างผลงานที่พัฒนามาจากผลงานเดิม ลิขสิทธิ์สำหรับผลงานใหม่มีระยะเวลา 70 ปี ขึ้นอยู่กับว่าคนทำเป็นบุคคลหรือบริษัท ระยะเวลาของลิขสิทธิ์ของผลงานเก่า ๆ นั้นยากแก่การตรวจสอบ จริง ๆ แล้วผลงานเก่าไม่ได้แปลว่าลิขสิทธิ์หมดอายุแล้วเสมอไป เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิที่จะขาย ย้าย ให้ หรือให้อนุญาตสิทธิที่มีแต่เพียงผู้เดียวอันใดอันหนึ่ง หรือทั้งหมดให้กับคนอื่น จนกระทั่งหมดระยะเวลาการคุ้มครอง

การจดลิขสิทธิ์และการทำเครื่องหมาย
ในสหรัฐอเมริกา คุณไม่ต้องจดลิขสิทธิ์เพื่อจะได้รับผลประโยชน์จากการคุ้มครองลิขสิทธิ์ แต่คุณอาจต้องจดลิขสิทธิ์ถ้าต้องการฟ้องร้องเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของคุณ คุณไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องหมาย © บนผลงานของคุณ แต่ก็เป็นความคิดที่ดี การที่ไม่มีเครื่องหมาย © ไม่ได้หมายความว่าคุณสามารถลอกผลงานไปใช้ได้ ก่อนได้รับอนุญาต

การขายผลงานที่มีลิขสิทธิ์
ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ เจ้าของสินค้าที่มีลิขสิทธิ์ สามารถขายสินค้าชิ้นนั้นได้ เช่น ถ้าคุณซื้อดีวีดีภาพยนตร์ คุณสามารถขายดีวีดีแผ่นนั้นได้ การคุ้มครองลิขสิทธิ์ป้องกันคุณไม่ให้ไปก๊อปปี้ดีวีดีภาพยนตร์แล้วนำแผ่นที่ก็อปปี้ไปขายต่อ ถ้าคุณได้ซื้อใบอนุญาตสิทธิในการใช้สินค้าที่มีลิขสิทธิ์ คุณควรตรวจสอบใบอนุญาต และปรึกษาทนายของคุณเพื่อดูว่าคุณสามารถขายได้หรือไม่

การขายกับการให้ฟรี
การคุ้มครองลิขสิทธิ์รวมไปถึงสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการจัดจำหน่ายผลงานลิขสิทธิ์ นั่นหมายความว่าการให้ผลงานลิขสิทธิ์ที่ก็อปปี้ขึ้นมาโดยไม่ได้รับอนุญาตฟรี ๆ (เช่นวีดีโอที่ก็อปปี้มา) ดังนั้นการขายดินสอที่ราคา $5.00 และ "แถม" ดีวีดีที่ก็อปปี้มาโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการผิดกฎหมาย

สิทธิในการเปิดเผยต่อสาธารณะ
ในทำนองเดียวกัน การใส่หน้าของใครบางคน รูป ชื่อ หรือลายเซ็นลงในสินค้าที่ขายนั้น เป็นสิ่งต้องห้ามโดยกฎหมาย “Right of Publicity” ของรัฐแคลิฟอร์เนีย และกฎหมายที่เกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวบางอย่าง ดังนั้นการใช้ภาพของคนดังเพื่อการค้า อาจเป็นการละเมิดสิทธิของคนดังคนนั้นถึงแม้ว่าภาพนั้นถ่ายโดยผู้ขายและผู้ขายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ก็ตาม

เบิร์นคอนเวนชั่น?
เบิร์นคอนเวนชั่นไม่ได้เป็นกฎหมายของสหรัฐอเมริกา และไม่ได้หมายถึงว่าสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ที่ฝ่าฝืน กฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกา ได้ เบิร์นคอนเวนชั่นเป็นสนธิสัญญาสากลที่สหรัฐอเมริกาเซ็นในปี 1989 โดยการเซ็นสนธิสัญญานี้ สหรัฐอเมริกาให้คำมั่นสัญญาว่าจะแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์บางอย่างของตัวเอง

*ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้มีไว้เพื่อเป็นการแนะนำทางกฎหมาย ถ้าคุณมีข้อสงสัยว่าจะขายสินค้าบนอีเบย์ได้หรือไม่ เราแนะนำให้คุณติดต่อเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือปรึกษาทนายความของคุณ

การฝ่าฝืนนโยบายอาจจะเกิดผลตามมาได้หลายอย่างรวมไปถึง

การยกเลิกรายการประกาศขายของคุณ

การจำกัดสิทธิการใช้งานแอคเคานต์ของคุณ

การระงับใช้งานแอคเคานต์

ยึดค่าธรรมเนียมรายการประกาศขายที่ถูกยกเลิก

สูญเสียสถานะ PowerSeller

Ref: คู่มือการใช้ ubuntu

http://www.reo09.go.th/reo09/admin/news/file/6.pdf

http://www.ubuntuclub.com/node/951

http://gotoknow.org/post/tag/ubuntu